วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

ลิงค์ การศึกษาแนวพุทธฯ

http://www.watphraphutthachai.com/watphrabuddhachay/school_put/school_put23.htm

การบริหารเชิงพุทธฯ

http://www.edu.buu.ac.th/journal/Journal%20Edu/Link_Jounal%20edu_18_2_5.pdf

http://www.surinarea1.go.th/isresearch/vijai/%B5%D1%C7%CD%C2%E8%D2%A7%A7%D2%B9%C7%D4%A8%D1%C2/%B5%D1%C7%CD%C2%E8%D2%A7%C7%D4%A8%D1%C2%205%BA%B7/%C7%D4%A8%D1%C2%E0%B5%E7%C1%E1%BA%BA%E1%B9%C7%CB%C5%D1%A1%CA%D9%B5%C3/%CB%C5%D1%A1%CA%D9%B5%C3%BD%D6%A1%CD%BA%C3%C1/%E0%CD%A1%CA%D2%C3%B7%D5%E8%E0%A1%D5%E8%C2%C7%A2%E9%CD%A7/Radompon_com.htm

เรื่องของการปฏิรูปการเรียนการสอน

Admin - 5/2/2006 เมื่อ 04:45 จากการที่กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศเจตนารมณ์ ปี ๒๕๔๙ เป็นปีแห่งการปฏิรูปการเรียนการสอน
รายละเอียด คลิกที่นี่ http://www.obec.go.th/news49/02_february/04/jastana.pdf

ดังนั้น ทางเว็บมาสเตอร์ Radompon.com ได้รวบรวมข้อมูลต่างๆจากหลายๆแหล่ง จึงขอนำเสนอเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการเรียนการสอน เพื่อคุณครูทุกท่านได้เลือกอ่านและศึกษา ครับ

(หมายเหตุ : เอกสารที่ไม่อ้างถึงแหล่งที่มา ต้องขออภัยด้วยที่ไม่ได้ระบุในบอร์ดนี้ เนื่องจากเก็บไว้นานและขาดๆหายๆ ไปบางส่วน)


การปฏิรูปการเรียนการสอน

นับตั้งแต่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา กระแสการปฏิรูปการศึกษาเริ่มมีบทบาทสำคัญ และแพร่ขยายไปทุกหน่วยงานการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันได้มีการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเรียนการสอนเสี ยใหม่ จากการเน้นบทบาทครูเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ หรือเน้นความสำคัญของการเรียนการสอนเนื้อหาตามตำรา เป็นการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เรียนด้วยความสุข และเนื้อหาเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตจริงของผู้เรียน สาระของความรู้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นตามความสนใจ และตามความเป็นจริง ไม่ใช่ติดยึดตายตัวอยู่กับเอกสาร หลักสูตรแต่เพียงอย่างเดียว

กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดนโยบายและแนวทางการปฏิรูปการศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ คือ สร้างบุคคลแห่งการเรียนรู้ องค์กรแห่งการเรียนรู้ และสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น ตลอดจนมุ่งหวังที่จะให้ผู้ที่ผ่านการศึกษาแต่ละคน มีความสามารถและมีคุณลักษณะพื้นฐานที่สำคัญ คือ มีสุขภาพพลานามัยที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ มีความสามารถในการคิด ใฝ่รู้ และแสวงหาความรู้ มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ไม่เห็นแก่ตัว เสียสละ อดทน มีความเป็นประชาธิปไตย รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อยู่บนพื้นฐานของวัฒนธรรมไทย และความเหมาะสมของการศึกษาแต่ละระดับ นั่นคือ กระบวนการเรียนรู้ เพื่อสร้างคุณลักษณะผู้เรียนให้เป็นทั้งคนดี คนเก่ง และมีความสุข ซึ่งกรมวิชาการ ได้สังเคราะห์กรอบความหมายคุณลักษณะดังกล่าวไว้ดังต่อไปนี้
1. คนดี หมายถึงคุณลักษณะทางจิตใจและพฤติกรรมของความมีวินัย และค่านิยมประชาธิปไตย ได้แก่
1.1 ความมีวินัย คือ คุณลักษณะจิตใจและพฤติกรรมที่ช่วยให้บุคคลนั้นสามารถควบคุมตนเองและปฏิบัติตนตา มระเบียบ กฎ กติกาของสังคม เพื่อประโยชน์สุขของตนเองและส่วนร่วม พฤติกรรมที่บ่งชี้ถึงความมีวินัย เช่น ความสนใจใฝ่รู้ การควบคุมตนเอง ความรับผิดชอบ มีเหตุผล ซื่อสัตย์ ขยัน ตรงต่อเวลา อดทน เสียสละ และช่วยเหลือผู้อื่น เป็นต้น
1.2 ค่านิยมประชาธิปไตย คือ คุณลักษณะทางจิตใจและพฤติกรรมของบุคคลที่เห็นคุณค่าการเคารพสิทธิ ป้องกันสิทธิของตนเองและผู้อื่น ด้วยน้ำใจที่เคารพต่อคุณค่า และเสียงส่วนใหญ่ ด้วยความเข้าใจระหว่างกันและกันด้วยความสันติ พฤติกรรมที่บ่งชี้ถึงความมีประชาธิปไตย เช่น การ ยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น มีเหตุผล เคารพกติกาของสังคม ทำงานร่วมกับผู้อื่น มองโลกในแง่ดี มีความไว้วางใจผู้อื่น และไม่มีจิตใจเป็นเผด็จการ เป็นต้น

2. คนเก่ง หมายถึง ความเก่งในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น และทำงานกับผู้อื่นได้ดี ได้แก่
2.1 การเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยการพัฒนา ทักษะการคิด การวิเคราะห์ สังเคราะห์ จำแนก จัดลำดับความสำคัญ และทักษะการแก้ปัญหา พฤติกรรมบ่งชี้ที่เกิดขึ้น เช่น การรู้แหล่งข้อมูล และวิธีการแสวงหาความรู้ที่หลากหลาย ความสามารถรวบรวมข้อมูล สรุปการแปลความหมายข้อมูล การนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ การจัดลำดับความสำคัญ การตัดสินใจ ตลอดจนประยุกต์ใช้และพัฒนาความรู้ เป็นต้น
2.2 การเรียนรู้ที่จะทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่น เป็นการพัฒนาทักษะการจัดการ ได้แก่ ความสามารถในการวางแผน การปฏิบัติงาน การติดตาม ประเมินผล และสรุปงาน ตลอดจนประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการจัดการ รู้จักการวิเคราะห์ตนเอง พฤติกรรมที่บ่งชี้ประกอบด้วย การมองเห็นจุดเด่น จุดด้อยของตนเอง เห็นคุณค่าความสำคัญ การประมาณตน ตลอดจนรู้และเข้าใจความรู้สึกอารมณ์ของตนเอง รวมทั้งการเข้าใจผู้อื่น โดยการเห็นอกเห็นใจ ให้ความใส่ใจและรักษาสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น เป็นต้น

3. คนมีความสุข หมายถึง ความสุขกาย สุขใจ เป็นความสุขอันเป็นผลสำเร็จของการศึกษา ได้แก่
3.1 ความสุขกาย หมายถึง ภาวะที่ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข พฤติกรรมที่บ่งชี้ เช่น การเห็นคุณค่าของการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เหมาะสมกับวัย รู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รักษาความสะอาดร่างกาย เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย ป้องกันอันตรายจากอุบัติภัย โรคภัยและสิ่งเสพย์ติด เป็นต้น
3.2 ความสุขใจหรือสุขภาพจิตดี หมายถึง การที่บุคคลรู้จักตนเองเป็นอย่างดี ยอมรับข้อบกพร่องที่ตนมีอยู่ ภาคภูมิใจในข้อดีของตน มีอารมณ์แจ่มใส จิตใจมั่งคง ไม่มีความวิตกกังวลและตึงเครียด มองโลกในแง่ดี สามารถปรับตนให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ และสิ่งแวดล้อมได้ดี พฤติกรรมที่บ่งชี้ เช่น มีความคิดมีเหตุผล เชื่อมั่นและเข้าใจตนเองหรือผู้อื่น รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีความรัก ไว้วางใจผู้อื่นอย่างจริงใจ ตลอดจนทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม เป็นต้น
จึงเห็นได้ว่า คนเก่งหรือความเก่งที่มีอยู่ในตัวของผู้เรียน ไม่ได้เป็นหลักประกันว่า เขาผู้นั้นจะไม่เป็นอันตรายต่อสังคม จึงต้องเป็นคนดี และคนมีความสุขประกอบเข้ามาเป็นพื้นฐานสำคัญ เนื่องจากคนที่มีความดี และมีความสุขย่อมใช้ความเก่งของตนเองไปใช้ในทางที่ดี มีประโยชน์แก่ตนเองและสังคม เพราะเขาเหล่านั้นเป็นผู้ที่มองกว้าง คิดไกล ใฝ่ดี สร้างสรรค์ นั่นเอง


ที่มา http://202.183.214.209/~intira/article_evoteach_01.html
..........................................................................< br />
การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้
: พลังขับเคลื่อนสำคัญยิ่งในการปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษาให้เหมาะสม

ความเป็นมา

กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งรับผิดชอบการจัดการศึกษาส่วนใหญ่ของประเทศ ในการปฏิรูปการศึกษาของประเทศตามมติคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 ซึ่งได้ กำหนดขอบข่ายของการปฏิรูปการศึกษาว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ทาง การศึกษา เพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่มีอยู่เดิมให้เบาบางลงหรือหมดไป และเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่อนาคต ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาให้เข้าสู่ระดับ สากล โดยดำเนินการปฏิรูปการศึกษาให้เหมาะสมกับสภาพความเปลี่ยนแปลงและ บริบทของสังคมไทยโดยเน้นการปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอน การปฏิรูปหลักสูตร การปฏิรูปวิชาชีพครู และบุคลากรทางการศึกษา และการปฏิรูประบบบริหารและ การจัดการ
จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าคำ “ปฏิรูป” การศึกษาได้เริ่มปรากฏชัดแจ้งขึ้น ในแผนพัฒนาประเทศของไทยเราในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) ของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ระบุคำ “ปฏิรูป” ไว้ในบทที่ 4 ว่าด้วย “การพัฒนาสติปัญญา ทักษะและฝีมือแรงงาน ข้อ 2 ว่าด้วย การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ข้อ 2.1 “ปฏิรูปการเรียนการสอน
ให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์อย่างมีเหตุผล.... และข้อ 2.8 การปฏิรูประบบการผลิตและ การพัฒนาครูอาจารย์โดยการ (1) สร้างปัจจัยและโอกาสให้คนดี คนเก่ง เข้าสู่วิชาชีพครู อาจารย์ (2) เร่งรัดให้มีการพัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรด้านการฝึกอบรม ทุกคนอย่างต่อเนื่อง (3) สร้างจิตสำนึกและส่งเสริมขวัญกำลังใจในการทำงานของ ครู อาจารย์

ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) ของสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ก็ได้ระบุคำ “ปฏิรูป” ไว้ใน นโยบายการศึกษา 3 ใน 5 ด้าน คือ ปฏิรูประบบการเรียนการสอน ปฏิรูประบบ การผลิตและพัฒนาครู ปฏิรูปกระบวนการบริหารและการจัดการศึกษา
ในแผนพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระยะที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) ของกระทรวงศึกษาธิการ นั้นก็ได้กล่าวถึงคำ “ปฏิรูป” ไว้ใน ยุทธศาสตร์ในการพัฒนา” 3 ใน 6 ประการ คือ ปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอน ปฏิรูปการสรรหา การผลิตและการพัฒนาครูอาจารย์และบุคลากร และปฏิรูปการบริหารและการจัด การศึกษา การศาสนาและการวัฒนธรรมให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ความสำคัญ
รัฐ โดยกระทรวงศึกษาธิการ มีภารกิจอันยิ่งใหญ่ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนา คุณภาพของประชากร ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าในการพัฒนาประเทศชาติ ได้ตระหนัก
ถึงความสำคัญของ การปฏิรูปการศึกษา เพื่อการปรับปรุงแก้ไข ปัญหา อุปสรรค ในการจัดการศึกษาที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน และเพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ และความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 และ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มุ่งเน้นการพัฒนาระบบการศึกษาไทยเพื่อการพัฒนา คุณภาพของคนไทย และยกระดับการศึกษาของคนไทยให้สูงขึ้น ต้องการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงการศึกษาไทยทั้งในด้านคุณภาพ และประสิทธิภาพให้ทัดเทียมกับ นานาอารยประเทศซึ่งการปฏิรูปการศึกษานี้เป็นภารกิจสำคัญและยิ่งใหญ่ที่ทุกคน ทุกหน่วยงานองค์กรจะต้องร่วมคิด ร่วมทำ และช่วยตัดสินใจ การปฏิรูปการศึกษา เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมทั้งในเชิงความคิด ความเชื่อ และการปฏิบัติ ซึ่งต้องอาศัยการมีส่วนร่วม ความร่วมมือ และภาวะการเป็นผู้นำ ในการดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ซึ่งจำเป็นต้องสร้างแนวคิดร่วม สร้างความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติให้กับบุคลากรทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา


เหตุผลและความจำเป็นในการปฏิรูปการศึกษา

การปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทยในยุคปัจจุบัน เกิดจากปัจจัยพื้นฐานที่ ส่งผลกระทบจนทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีการปฏิรูปการศึกษาอันเนื่องมาจาก สาเหตุหลายประการทั้งที่เป็นปัจจัยภายนอก อันได้แก่ กระแสโลกาภิวัตน์ที่การศึกษาต้องเตรียมคนให้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับเศรษฐกิจ สังคมยุคโลกาภิวัตน์และปัจจัย ภายใน อันได้แก่ 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ซึ่งประเทศไทยได้ ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 254 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับแนวทางการจัดการศึกษาไว้หลายมาตรา 2. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 อันเป็นกฎหมายหลักทางด้านการศึกษาฉบับแรกของ ประเทศไทยที่ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและให้ข้อมูลอย่าง กว้างขวาง เพื่อกำหนดเนื้อหาสาระต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดการศึกษาของประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาของชาติอย่างมาก บทบัญญัติ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 จึงเป็นแรงผลักดันที่สำคัญที่ทำให้มี ความจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาขนาดใหญ่หรือต้องการมี การปรับระบบการศึกษาใหม่ ซึ่งทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องมีการปฏิรูปการศึกษา อีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของการจัดการศึกษาไทย 3. สภาพปัญหาการจัดการศึกษาในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น (1) สภาพปัญหาทางด้านระบบบริหารและการจัดการ (2) สภาพปัญหาทางด้านคุณภาพของการจัดการศึกษา (3) สภาพปัญหาเกี่ยวกับ หลักสูตร สื่อ กระบวนการจัดการเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผล (4) สภาพ ปัญหาเกี่ยวกับครูและบุคลากรทางการศึกษาเหล่านี้เป็นต้น
จากแรงผลักดันและสภาพปัญหาดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องมีการปฏิรูป การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะคุณภาพของผู้เรียนที่ได้มาตรฐานสูง ในระดับสากล เพื่อให้สามารถเผชิญปัญหา และการเปลี่ยนแปลงดำรงตนในสังคม ได้อย่างมีความสุข และร่วมรับผิดชอบพัฒนาชุมชน ประเทศชาติและสังคมโลกต่อไป

ความหมายคำสำคัญ
1. การศึกษา มีความหมายหลักอย่าง อาทิเช่น
การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม
การศึกษา คือ การทำให้คนเจริญยิ่งขึ้น
การศึกษา คือ การพัฒนาความสามารถของมนุษย์
การศึกษาทั้งเรื่อง ความหมาย ความจำเป็น และคุณค่าของ การศึกษา ในความหมาย ตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 บัญญัติไว้ คือ

การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้ เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจาก การจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิต
(ม.4 วรรค 1)


2. การปฏิรูป ในที่นี้ให้ความหมายรวมเอาว่า
1. การปรับปรุง การเปลี่ยนรูปใหม่ การดัดแปลงแก้ไขกระบวนการเรียนรู้ เพื่อความเจริญงอกงามของนักเรียน เยาวชน ประชาชน
2. การปรับปรุง การเปลี่ยนรูปใหม่ การดัดแปลงแก้ไขกระบวนการเรียนรู้ เพื่อความเจริญงอกงามของสังคมทั้งระดับครอบครัว ชุมชน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัดและประเทศชาติ
3. การปฏิรูปการศึกษา ในที่นี้ก็ให้ความหมายรวมเอาว่า
“การดำเนินการปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้โดยการเลือกสรรเปลี่ยนแปลง
เพิ่มเติมแนวทางการดำเนินงานที่มีอยู่เดิมให้สามารถแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่มีอ ยู่เดิม ให้เบาบางลงหรือหมดไปและทั้งสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนและสังคม ให้ได้ตามมาตรฐานคุณภาพที่กำหนด”

4. กระบวนการเรียนรู้ ในที่นี้ให้ความหมายรวมเอาว่า
“กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนให้เกิดพฤติกรรม 4 ด้าน
คือ พุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย และทักษะกระบวนการ โดยเน้นให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้ 4 ขั้น คือ 1. เกิดความรู้ความจำ 2. ความเข้าใจ 3. เกิดความตระหนัก และ 4. สามารถนำไปใช้ได้”
5. การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ จึงให้ความหมายรวมเอาว่า
“การปรับเปลี่ยน กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนให้เกิด พฤติกรรม 4 ด้าน คือ พุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย และทักษะกระบวนการ โดยเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ 4 ขั้น คือ 1. เกิดความรู้ความจำ 2. ความเข้าใจ 3. เกิดความตระหนัก และ 4. สามารถนำไปใช้ได้” นั่นเอง
6. การบริหารการศึกษา ในที่นี้ให้ความหมายรวมเอาว่า
“การดำเนินการ การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของ บุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจาก การจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต”
7. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมายความถึงสาระบัญญัติ แห่ง พรบ. การศึกษา พ.ศ.2542 ที่สามารถแปลสาระบัญญัตินั้น ๆ ไปสู่การปฏิบัติ ในการพัฒนาผู้เรียนตามหลัก CHILD CENTER ที่มุ่งพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มี คุณภาพชีวิตที่ดี [QUALITY OF LIFE] เท่านั้น อันได้แก่
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
“การศึกษา” หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้ เพื่อความเจริญงอกงาม ของบุคคลและสังคมโดย การถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทาง วัฒนธรรมสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้ อันเกิด จากการจัดสภาพแวดล้อมสังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิต


มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์ทั้ง ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและ วัฒนธรรม ในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

มาตรา 8 การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
(1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
(2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
(3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่าง
ต่อเนื่อง

หมวด 4
แนวการจัดการศึกษา
มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถ เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการ ศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

มาตรา 23 การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้
มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความ ถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
(2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา


8. ยุทธศาสตร์การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ในที่นี้ให้หมายความรวมเอาว่า
ยุทธศาสตร์การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ : วิธีการที่ใช้ในการดำเนินการ
จัดการกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอด ความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความ ก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
9. กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด
กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด หมายถึง การกำหนดจุดหมาย สาระกิจกรรม แหล่งการเรียนรู้ สื่อการเรียน และการวัดประเมินผลที่มุ่งพัฒนาคนและชีวิตให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้เต็มตาม ความสามารถสอดคล้องกับความถนัด ความสนใจและความต้องการของผู้เรียน
การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดเป็นการจัดกระบวนการ เรียนรู้ที่
< มุ่งประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน
< ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ
< ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
< ผู้เรียนสามารถนำวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้
< ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน



CHILD CENTER
: อีกหนึ่งในสิ่งสำคัญสูงสุดของการปฏิรูปการศึกษาไทย

พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 4 มาตรา 22 ระบุแนวการจัด การศึกษา ไว้ในว่า “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถ เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการ จัดการศึกษาต้องเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” นั้น

ความหมาย
CHILD CENTER ในที่นี้ให้หมายถึง การเรียนการสอนที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ซึ่งมีความหมายโดยนัยเช่นเดียวกันกับ พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 22 ที่ระบุว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด

1. ข้อกำหนดของรัฐที่เกี่ยวกับ CHILD CENTER
รัฐ ได้ตระหนักถึงความจำเป็นและความสำคัญ คุณประโยชน์ของการพัฒนา ศักยภาพของคนไทยที่พึงปรารถนาโดยระบุไว้อย่างชัดเจนว่า การพัฒนาศักยภาพของ คนไทยที่พึงปรารถนานั้นจะต้องพัฒนาให้ทุกคนได้รับการพัฒนาตามศักยภาพอย่าง เต็มที่ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ ปัญญาและทักษะฝีมือ เพื่อให้คนเป็นคนดี มีคุณธรรม มีสุขภาพอนามัยที่ดี และมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีจิตสำนึกและมีบทบาทในการดูแล อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่ดีงาม ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยทำให้การพัฒนา ประเทศมีความสมดุล ยั่งยืนบนพื้นฐานของความเป็นไทย (เอกสารประกอบการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) พิมพ์ที่รุ่งเรืองการพิมพ์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ มมป. หน้า 17) และยังได้เน้นเรื่องการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

โดยได้ระบุไว้ “ปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์อย่างมี เหตุผล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักการค้นหาความรู้เพิ่มเติมและมีการฝึกปฏิบัติ จากประสบการณ์จริง...” (แหล่งเดิม หน้า 35 ข้อ 21) ซึ่งสภาพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติกำหนดวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาไว้ว่า
1. เพื่อพัฒนาศักยภาพของคนทางด้านจิตใจ ให้เป็นคนดี มีคุณธรรม มีจิตสำนึก
ที่ดีต่อสังคมส่วนรวม
2. เพื่อพัฒนาคนทุกคนให้สามารถคิดวิเคราะห์บนหลักของเหตุผล มีการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง มีโลกทัศน์กว้าง รวมทั้งมีประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตสูงขึ้น สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
3. เพื่อส่งเสริมให้คนมีสุขภาพอนามัยดีถ้วนหน้า มีความรู้ความเข้าใจและ สามารถป้องกันโรคและดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรีกำหนดไว้ใน แผนงานหลักที่ 2 : ซึ่งระบุไว้ว่า การเตรียมคนให้มีคุณลักษณะ “มองกว้าง คิดไกล ใฝ่ดี” หรือการเตรียมคนให้สามารถเผชิญกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็วจำเป็นจะต้องให้การศึกษาที่มีคุณภาพ ซึ่งปัจจัยสำคัญของการพัฒนา คุณภาพการศึกษา ได้แก่ กระบวนการเรียนการสอนที่เป็นการพัฒนากระบวนการเรียนรู้
มิใช่การสอนที่เป็นการถ่ายทอดความรู้จากครูแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่เป็นการเรียนรู้ของ ผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายและเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ในสังคมข่าวสาร ข้อมูลที่มีความรู้ใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง...” และได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการพัฒนาไว้ดังนี้คือ “เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาขีดความสามารถของตนได้เต็มตามศักยภาพและมี ความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ปัญญา จิตใจ และสังคม เป็นผู้รู้จักคิด วิเคราะห์ใช้เหตุ และผลเชิงวิทยาศาสตร์ มีความคิดรวบยอด รักการเรียนรู้ รู้วิธีการและสามารถเรียนรู้ ได้ด้วยตนเอง มีเจตคติที่ดี มีวินัย มีความรับผิดชอบและมีทักษะที่จำเป็นต่อการพัฒนาคน
พัฒนาอาชีพและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งได้กำหนดเป้าหมาย ไว้ว่า (2) มีการปรับกระบวนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง รวมทั้งมี รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลาย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และเหมาะสมกับ กลุ่มเป้าหมาย กับทั้งได้กำหนด แนวทาง/มาตรการ ในการปรับปรุงการจัดกระบวน การเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ โดย 2.1 ผู้สอนปรับวิธีการเรียนการสอนให้ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบและมีเหตุผล มุ่งให้ผู้เรียน รักการเรียนรู้ รู้จักคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ แสวงหาความรู้และรู้จักแก้ปัญหาด้วย ตนเอง รวมทั้งรู้จักทำงานเป็นหมู่คณะตามระบอบประชาธิปไตย เพื่อเป็นการพัฒนา ทักษะพื้นฐานของการมีส่วนร่วมที่มีคุณภาพของสมาชิกสังคม 2.2 ผู้สอนจัดวิธีการเรียนการสอนให้มีความหลากหลายในรูปแบบ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันและ เงื่อนไขของท้องถิ่น (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) พิมพ์ที่อรรถพลการพิมพ์ กทม.มปป. หน้า 67-70)
3. ข้อกำหนดของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระยะที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) กำหนดเป็น นโยบายไว้ในข้อที่ 3 การปฏิรูปกระบวนการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนไว้ว่า “ปฏิรูปกระบวนการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียน การสอนทุกระดับทุกประเภท โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียน มีความรู้ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทยในอนาคต รวมทั้งให้ หลักสูตรมีความคล่องตัวและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ชุมชน สังคม ประเทศชาติและการพัฒนาประชาคมโลก “และได้กำหนด เป้าหมาย ในการนี้ไว้ว่า 3. มีกระบวนการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะ ประสบการณ์และมีความสุขในการเรียน สามารถปลูกฝังนิสัยใฝ่เรียน ใฝ่หาความรู้ เพื่อการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและมีเวลาให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติเหมาะสมกับ วัย... (กระทรวงศึกษาธิการ แผนพัฒนาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระยะที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) โรงพิมพ์คุรุสภา กทม.2541 (หน้า 72) และในการนี้กระทรวงศึกษาธิการ
ได้เสนอแนวทางการดำเนินงานการปฏิรูปงานการศึกษาในระดับสถานศึกษา ด้านกระบวนการเรียนการสอนไว้ว่า “ปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนทุกระดับ ถือว่าผู้เรียนมี ความสำคัญที่สุด จะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพและมีความสุขโดยยึด ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จัดสาระการเรียนรู้ บูรณาความรู้และทักษะต่าง ๆ อย่างเหมาะสมกับ
ผู้เรียน

4. ข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 43 บัญญัติไว้ว่า
“บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า สิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัด การศึกษาอบรมของรัฐต้องคำนึงของการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเอกชน ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ”

ปรัชญาและแนวคิดที่เกี่ยวกับ CHILD CENTER
แนวคิดในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางนั้นจัดอยู่ใน ปรัชญาการศึกษา กลุ่ม เสรียนิยม สาขา พิพัฒนนิยม (PROGRESSIVISM) ซึ่งมี แนวคิดที่ไม่ยึดติดกับเนื้อหาที่ตายตัว ไม่ยึดแบบแผนแน่นอน ไม่ยึดมั่นกับมรดกทาง วัฒนธรรมมากเกินไป

พื้นฐานด้านปรัชญา
แนวคิดของทฤษฎี CONSTRUCTIVISM

ปรัชญา CONSTRUCTIVISM อธิบายว่า
การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในบุคคล บุคคลเป็นผู้สร้าง (CONSTRUCT)
ความรู้จากการสัมพันธ์สิ่งที่พบเห็นกับความรู้ ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม เกิดเป็นโครงสร้าง ทางปัญญา (COGNITIVE STRUCTURE) (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด หน้า 5

ความเชื่อ
ทฤษฎี CONSTRUCTIVISM มีความเชื่อว่า

การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในบุคคล บุคคลเป็นผู้สร้างความรู้ (CONSTRUC) จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้ ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญา ผู้สอนไม่สามารถปรับเปลี่ยนปัญญาของผู้เรียนได้ แต่สามารถ
ช่วยผู้เรียนปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาได้ โดยการจัดสภาพการณ์ให้ผู้เรียนเกิด ความขัดแย้งทางปัญญาหรือเกิดภาวะไม่สมดุลทางปัญญาขึ้น ซึ่งเป็นสภาวะที่ประสบการณ์
ใหม่ไม่สอดคล้องกับประสบการณ์เดิม ผู้เรียนต้องพยายามปรับข้อมูลใหม่กับประสบการณ์ที่มีอยู่เดิม แล้วสร้างเป็นความรู้ใหม่ (ดร.วัฒนาพร ระงับทุกข์ แผนการสอนที่เน้น ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โรงพิมพ์บริษัทแอล ที เพลส กทม. 2542 หน้า 15)

ตามแนวคิดนี้ ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ความรู้ได้ หากมีการจัดการศึกษาที่ เอื้ออำนวยด้วยบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดและสร้างสรรค์ด ้วย ตนเอง
ดังนั้น ใบสร้างองค์ความรู้ จึงเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่สำคัญ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐาน แห่งความเชื่อตามทฤษฎี CONSTRUCTIVISM ดังกล่าวนี้

ทฤษฎีพื้นฐาน

ทฤษฎีพื้นฐาน
1. ความสุขของมนุษย์เกิดจากการรู้จักดำเนินชีวิตให้ถูกต้องทั้งต่อตนเองและ ผู้อื่น
2. การรู้จักดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง คือ การรู้จักคิด คิดเป็น พูดเป็นและทำเป็น
3. การคิดเป็นหรือการคิดอย่างถูกต้องเป็น ศูนย์กลางที่บริหารการดำเนินชีวิต ทั้งหมด ทำหน้าที่ชี้นำและควบคุมการกระทำ
4. กระบวนการคิดเป็น เป็นสิ่งที่พัฒนาได้ ฝึกฝนได้ โดยกระบวนการที่เรียกว่าการศึกษาหรือสิกขา การพัฒนานั้นเรียกว่า การพัฒนาสัมมาทิฏฐิ ผลที่ได้คือ มรรค หรือ การกระทำที่ดีงาม
5. แก่นแท้ของการศึกษา คือ การพัฒนาปัญญาของตนเองให้เกิดมีสัมมมา ทิฏฐิ คือ ความรู้ ความเข้าใจ ความคิดเห็น ค่านิยมที่ถูกต้อง ดีงาม เกื้อกูลแก่ชีวิต และครอบครัว
6. สัมมาทิฏฐิ ทำให้เกิดการพูดและการกระทำที่ถูกต้องดีงาม สามารถดับทุกข์ และแก้ปัญหาได้
7. ปัจจัยที่ทำให้เกิด สัมมาทิฏฐิ ได้ มี 2 ประการ คือ
7.1 ปัจจัยภายนอก หรือเรียกว่า ปรโต โฆ สะ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ครู พ่อแม่ เพื่อสื่อมวลชนต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ด้วยวิธีแห่งปัญญา
7.2 ปัจจัยภายใน หรือเรียกว่า โยนิโสมนสิการ ได้แก่ การคิด
8. โยนิโสมนสิการ เรียกได้ว่า การคิดเป็น เป็นความสามารถที่บุคคลรู้จักมอง รู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลายตามสภาวะ โดยวิธีคิดหา เหตุ ปัจจัย สืบค้นจาก ต้นเหตุ ตลอดทางจนถึง
ผลสุดท้ายที่เกิด แยกแยะเรื่องออกให้เห็นตามสภาวะที่เป็นจริง คิดตามความ สัมพันธ์ที่สืบทอดจากเหตุ โดยไม่เอาความรู้สึกอุปทานของตนเองเข้าไปจับหรือ เคลือบคลุมบุคคลนั้นจะสามารถแก้ปัญหา
9. โยนิโสมนสิการ เป็นองค์ประกอบภายใน มีความเกี่ยวข้องกับการฝึกใช้ ความคิด ให้รู้จักคิดอย่างถูกวิธี คิดอย่างมีระเบียบ คิดอย่างวิเคราะห์ ไม่มองเห็น สิ่งต่าง ๆ อย่างตื้น ๆ ผิวเผิน เป็นขั้นตอนสำคัญของการสร้างปัญหา ทำใจให้บริสุทธิ์ และเป็นอิสระ ทำให้ทุกคนช่วยตนเองได้ นำไปสู่ความเป็นอิสระ ไร้ทุกข์ พร้อมด้วย สันติสุข อันเป็นจุดหมายสูงสุดของพุทธธรรม
10. โยนิโสมนสิการ ไม่ใช่ตัวปัญญา แต่ เป็นปัจจัยให้เกิดปัญญา มีเป้าหมาย สูงสุดคือ การดับทุกข์
11. โยนิโสมนสิการ มีองค์ประกอบ 4 ส่วน คือ
1. อุบายมนสิการ คือ การคิดอย่างเข้าถึงความจริง
2. ปถมนสิการ คือ การคิดอย่างมีลำดับ ขั้นตอน ไม่สับสน
3. การณมนสิการ คือ การคิดอย่างมีเหตุผล
4. อุปปาทกมนสิการ คือ การคิดอย่างมีเป้าหมาย คิดให้เกิดผลไม่ใช่คิด
ไปเรื่อยเปื่อย

12. วิธีโยนิโสมนสิการ มีวิธีหลักอยู่หลายวิธี ดังเช่น
12.1 วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย
12.2 วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ
12.3 วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ เป็นวิธีคิดเพื่อให้รู้เท่าทัน คือรู้ว่าสิ่งต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นเองและจะดับไปเอง เรียกว่า รู้อนิจจัง และรู้ว่าสิ่งต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นมาเอง ไม่มีใครบังคับหรือกำหนดขึ้น เรียกว่า รู้อนัตตา
12.4 วิธีคิดแบบอริยสัจ เป็นวิธีคิดแบบแก้ปัญหา โดยเริ่มจาก ตัวปัญหา
หรือทุกข์ สืบค้นหาสาเหตุเตรียมแก้ไข วางแผนกำจัดสาเหตุของปัญหา มีวิธีการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน คือ
1) ทุกข์ การกำหนดให้รู้สภาพปัญหา
2) การกำหนดสาเหตุแห่งทุกข์เพื่อกำจัด
3) กำหนดแนวทางการดับทุกข์
4) กำหนดวิธีการในรายละเอียดและปฏิบัติเพื่อกำจัดปัญหา
(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด
หน้า 5-8)


การบริหารการจัดการ CHILD CENTER

พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 4 มาตรา 22 ระบุ แนวการจัด การศึกษาไว้ในว่า “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถ เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัด การศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ” นั้น

บรรดาผู้มีส่วนดีส่วนเสียหรือส่วนเสียส่วนดีทั้งหลายจากระบบการศึกษา พึงร่วมมือร่วมใจกันระดมสรรพทรัพย์ที่ทุกคนมีมาใช้ในการดำเนินการจัดการกับ การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนมีความสำคัญมากที่สุด เพื่อให้บรรลุเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับปัจจุบันนี้
โดยเริ่มตั้งแต่ระดับบริหาร ครู จนถึงเจ้าหน้าที่และพนักงานในสถานศึกษา ทุกคน ในการปรับเปลี่ยนกระบวนการที่ยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้อง ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ
งานด้านการบริหารจัดการ สามารถกำหนดนโยบาย การวางแผน วางมาตรการ งบประมาณเพื่อการจัดการศึกษาในรูปแบบ Child Center : ผู้เรียนสำคัญที่สุด ซึ่งเป็น ภารกิจที่สำคัญของผู้บริหารการศึกษาทุกระดับ
1. ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา
2. ผู้อำนวยการ/อาจารย์ใหญ่/ครูใหญ่ ของโรงเรียน/สถานศึกษา
โดยผู้บริหารระดับต่าง ๆ ควรใช้นโยบายเป็นกรอบดำเนินการ เช่น

นโยบาย >>ข้อความหรือถ้อยแถลงเกี่ยวกับแนวทาง
ทิศทาง ขอบเขตหรือกรอบกำกับการดำเนินงานของหน่วยงาน องค์กร
เพื่อให้ดำเนินงานเป็นไปตามแนวทาง ทิศทาง ขอบเขต หรือกรอบกำกับนั้นได้อย่างถูกต้อง

เพื่อให้บรรลุเจตนารมณ์ของบทกฎหมายตามมาตรา 22 นั้น ผู้บริหารหน่วยงาน/ สถานศึกษา ควรบริหารจัดการ (Child Center : ผู้เรียนสำคัญที่สุด) โดยใช้นโยบายเป็นกลไกสำคัญด้วยการกำหนดนโยบายขึ้นเป็นลายลักษณือักษรไว้เป็นหลั กฐาน สำหรับเป็นตัวกำกับทิศทางการดำเนินงาน ดังนี้

เป้าหมาย เป็นข้อความที่แสดงถึงปริมาณหรือคุณภาพของผลงาน
ที่คาดหวังไว้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ข้อความข้างต้น เป็นสิ่งที่ให้ทุกคนพึงรู้ว่าควรตั้งเป้าหมายของนโยบายอย่างไร ควรมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางได้อย่างไร ควรมีรูปแบบวิธีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายในเรื่องรูปแบบ เพื่อกระตุ้นให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
และจะสามารถร่วมกันกำหนดความคาดหวังสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตในตัวเด็ก ซึ่งจะอยู่ในรูปของวัตถุประสงค์ต่อไปอย่างสอดคล้องกัน

วัตถุประสงค์ >>> จุดหมายปลายทางหรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
ซึ่งเป็นผลจากการบริหารการจัดการดำเนินกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง

เมื่อตั้งวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับเป้าหมายของนโยบายแล้ว เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาขีดความสามารถของตนเต็มศักยภาพและมีความสมดุล ทั้งด้านร่างกาย ปัญญา จิตใจ และสังคม ผู้บริหารจำเป็นต้องกำหนดวิธีการเพื่อให้วัตถุประสงค์ เป้าหมาย นโยบาย ที่ได้ตั้งไว้บรรลุผลสำเร็จที่อยู่ในรูปแบบของ “มาตรการ”

มาตรการ >>>> กลวิธี หรือวิธีการที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้แก้ปัญหาใด
ปัญหาหนึ่ง โดยคาดหวังว่าจะทำให้บรรลุตาม
วัตถุประสงค์และเป้าหมายภายในกรอบนโยบาย
ที่กำหนดไว้แล้ว

งานด้านการปฏิบัติการ สามารถนำแผนนโยบาย วัตถุประสงค์ มาตรการที่กำหนดไว้ในพื้นที่ในโรงเรียน ในห้องเรียนกับนักเรียน ฯลฯ

ผู้รับผิดชอบระดับปฏิบัติ >>>> นักวางแผน / เจ้าหน้าที่ฝ่ายแผนฯ
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนนักวิชาการ/
นักวิชาการศึกษา นักวิจัย ครูผู้สอน ฯลฯ ในองค์กรการศึกษา/สถานศึกษา

งานด้านการกำกับ ติดตามผล เป็นผู้สามารถทำหน้าที่การกำกับ ควบคุม การติดตามผลการปฏิบัติตามแผนงานด้านต่าง ๆ ตามหน้าที่ฝ่าย/แผนก

ผู้บริหารที่รับผิดชอบ >>>> ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา
ผู้อำนวยการ/อาจารย์ใหญ่/ครูใหญ่
โรงเรียน/สถานศึกษา

งานด้านการวัด/ประเมินผลและพัฒนา สามารถตรวจสอบผลการปฏิบัติงานตาม แผน ตามนโยบาย และมาตรการด้าน CHILD CENTER

ผู้มีภารกิจด้านการสนับสนุนส่งเสริมด้านการดำเนินการ CHILD CENTER >>>> ได้แก่ นักวางแผน/เจ้าหน้าที่ฝ่ายแผน
นักวิเคราะห์ นโยบายและแผน นักวิชาการ/
นักวิชาการศึกษา นักวิจัย ครู ศึกษานิเทศก์
นักวัดผล นักพัฒนาหลักสูตร นักวัดผล
ประเมินผล ฯลฯ

ครูตามความคาดหวังของนักเรียน
1. เป็นผู้ที่สามารถเข้าใจในระบบการเรียนการสอนใหม่เป็นอย่างดี
2. เป็นผู้ที่ทำการศึกษาและทำความเข้าใจกับหลักสูตรอย่างละเอียด
3. เป็นผู้ที่สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักเรียน
4. เป็นผู้ที่มีความเป็นกันเองกับนักเรียน
5. เป็นผู้ที่ไม่ทำร้ายจิตใจเด็กด้วยวิธีการต่าง ๆ
6. เป็นผู้ที่สามารถเป็นแกนนำในการแก้ปัญหาของชุมชน
7. เป็นผู้ที่สามารถใช้สื่อและกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย
8. เป็นผู้ที่มีความยุติธรรมเป็นผู้ที่กล้าคิด กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง
9. เป็นผู้ที่สามารถสร้างศรัทธาในวิชาต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นในหัวในของนักเรียน
10. เป็นผู้ที่ค้นคว้าหาความรู้และคำตอบให้แก่นักเรียนได้เมื่อมีปัญหา

ความรู้คู่คุณธรรม

พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งพระราชอาณาจักร
ไทยกำหนดให้รัฐ ต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษา อบรมให้เกิด ความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ

การศึกษาของไทยเริ่มขึ้นจากภายในครอบครัวขยายออกไปสู่วัด วัง และ โรงเรียน จึงทำให้วิธีการและรูปแบบการสั่งสอน ฝึกฝน อบรมบ่มนิสัย โดยมีคุณธรรม
เป็นหลักและพื้นฐานของทุกองค์ประกอบของการศึกษา ไม่ว่าเป็นคุณธรรมที่แทรก ในทุกรายวิชา คุณธรรมของครูและศิษย์ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน วิธีการอบรมสั่งสอนที่สอดแทรกคุณธรรมในทุกกระบวนการต่าง ๆ ของการศึกษา
“นักเรียนทั้งปวงจะร่ำเรียนวิชาความรู้แล้วเลือกเฟ้นข้อปฏิบัติแต่ที่ดีแท้ดีย ิ่ง และประพฤติตามจะได้เจริญประโยชน์ความสุขแก่ตน เป็นทางที่หากินโดยชอบธรรม เป็นที่ตั้งแห่งวงศ์ตระกูลของตนสืบไปภายหน้า”
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นผู้ทรงตั้ง โรงสอนและโรงเรียน เป็นการเปิดโอกาสให้ราษฎรทุกระดับชั้นได้เล่าเรียนโดยทั่วถึงกัน
การเรียนหนังสือนั้นพระองค์ทรงเน้นให้จัดการเล่าเรียนเพื่อให้คนรู้วิชาและประพ ฤติดี
และในปีพุทธศักราช 2453 พระองค์ได้ทรงเน้นให้การศึกษาสร้างคนให้ประพฤติดี ประพฤติชอบ รักษาวงศ์ตระกูล โอบอ้อมอารีกลมเกลียว ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันในระหว่างสามีภรรยา มีความซื่อตรงกระเหม็ดกระแหม่ เมตตา ประพฤติตนตาม กฎหมาย รักชาติ และมีความจงรักภักดี ทรงเน้นคุณธรรมดังกล่าวว่า “ให้เข้าฝังอยู่ ในสันดานของผู้เรียนจึงจะได้ชื่อว่า สั่งสอนฝึกหัดนักเรียนได้สำเร็จ
ทั้งยังส่งเสริมให้พระสงฆ์มีกำลังสั่งสอนธรรมปฏิบัติตีพิมพ์หนังสือแบบเรียน หลวงพระราชทานแก่พระภิกษุสงฆ์ไปฝึกสอนด้านศีลธรรม โดยมีสมเด็จพระมหา สมณเจ้าฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นผู้สนองรับราชดำริ ด้วยการนิพนธ์หนังสือ

“เบญจศีล เบญจธรรม” นอกจากนั้นในหลักสูตรมูลสามัญขั้นต่ำและขั้นสูงยังมีสอน “ธรรมจารี” สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมงอีกด้วย
และยังมีพระราชบรมวงศาในอดีตอีกหลายพระองค์ที่ได้ทรงสร้างคุณประโยชน์ แก่วงการการศึกษาของไทยอย่างมาก ซึ่งทุกพระองค์มีหลักที่สำคัญในการสร้างและ ส่งเสริมหลักสูตรให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีสมบัติผู้ดีอันได้แก่ ความเรียบร้อย ไม่ประพฤติ อุจาดลามก มีสัมมาคารวะ มีกิริยาเป็นที่รัก สง่าไม่เห็นแก่ตัวฝ่ายเดียว ใจดี ปฏิบัติ การงานดี ไม่ประพฤติชั่ว และสุจริตซื่อตรง
ในปัจจุบันมีนักวิชาการจำนวนหนึ่งที่เห็นคุณค่าของหนังสือสมบัติผู้ดี และนำ มาสอนเยาวชนในสถานศึกษาทุกระดับ มีสาระที่ทรงคุณค่าและคุณประโยชน์ต่อ การสอนและพัฒนาจิตใจของเยาวชนอย่างดียิ่ง
การจัดการศึกษาไทยในปัจจุบันเป็นยุคของการแสวงหาทิศทางและแนวปฏิบัติ ที่ต้องการให้เกิดความสมดุลระหว่างการสั่งสอนวิชาการ วิชาชีพ และคุณธรรม ซึ่งคุณธรรมนี้เป็นแก่นสารของการศึกษาไทยมานาน เป็นพื้นฐานในกระบวนการพัฒนาคุณภาพของชีวิตและความสงบสุขของสังคมอย่างแท้จริง< br /> สิ่งที่ครูผู้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนพึงเน้นย้ำอย่างตั้งใจ คือ
1. ยกให้นักเรียนเป็นบุคคลสำคัญในกิจกรรมนั้น ๆ (Child Centered Learning)
2. ยกกิจกรรมให้แก่ผู้เรียน
3. ระบุคุณธรรม (คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตพิสัย ศีลธรรม คุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์) ให้ชัดเจนในวัตถุประสงค์การสอนด้วย
4. เน้นการใช้เทคนิค/วิธีการที่เกื้อกูลการเกิดคุณธรรม
การนำไปปฏิบัติในระดับพื้นที่
1. ครูผู้สอน
ในการจัดทำแผนการสอน/บันทึกการสอน ควรระบุทั้งที่เป็นความรู้ และคุณธรรม ไว้คู่กันใน
1.1 จุดประสงค์การสอน
1.2 เนื้อหา/สาระที่จะสอน

1.3 ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
1.4 ขั้นวัดและประเมินผลการสอน

2. ผู้นิเทศ (ทั้งนิเทศภายในและภายนอก)
ผู้นิเทศควรใส่ใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้สอนว่า ได้สอนตาม แผนการสอน/บันทึกการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทั้งทฤษฎี (ความรู้) และปลูกฝัง คุณธรรมตามที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงใด
3. ผู้บริหาร
ผู้บริหารควรใส่ใจในการจัดการเรียนการสอนของครู/อาจารย์ในโรงเรียนให้เน้น ความรู้คู่คุณธรรมโดย
3.1 กำหนดเป็นนโยบาย (POLICY) ไว้
3.2 กำหนดเป็นแผนพัฒนา แผนงาน โครงการ กิจกรรม (Plan)
3.3 มีการกำกับ ควบคุม ดูแล (Monitoring)
3.4 มีการวัด/ประเมินผล (Assessment)
3.5 รายงานผลต่อสาธารณะ (Reporting)
4. นักวิชาการ
นักวิชาการ นักศึกษาวิชาการ ศึกษานิเทศก์ นักวิเคราะห์ นักวิจัย ตลอดจน ผู้สนใจใฝ่รู้ทั่วไป ควรทำการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ (Body of Knowledges) ด้านการพัฒนา ส่งเสริมการจัดการศึกษาและอบรมให้เกิดความรู้ คู่คุณธรรมตามเจตนารมณ์ของกฎหมายต่อไป โดยให้มีผลงานปรากฏขึ้นเป็นหลักฐาน
5. นักพัฒนาหลักสูตร
นักพัฒนาหลักสูตร ควรตระหนักในข้อกำหนดของกฎหมายที่กำหนดให้รัฐ ต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษา อบรมให้เกิดความรู้ คู่คุณธรรมในตัวผู้เรียน โดยต้องสร้างความรู้ทำความเข้าใจต่อผู้เกี่ยวข้องทั้งครูผู้สอน
ผู้นิเทศ ผู้บริหาร นักวิชาการ นักวิเคราะห์ นักวิจัยตลอดจนบุคคลทั่วไปให้กว้างขวาง
โดยการประชาสัมพันธ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้ความรู้สร้างความเข้าใจให้เกิด แก่บุคคลดังกล่าวต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องกำหนดไว้อย่างชัดเจนชัดแจ้งในกระบวนการหลักสูตรทั้งหลักส ูตรกลางและหลักสูตรท้องถิ่น
6. ผู้ปกครอง
ผู้ปกครองต้องคอยเฝ้าและสนใจพฤติกรรมของบุตรหลานของตนเองว่า บุตรหลาน
มีพฤติกรรมอันส่อแสดงว่ามีคุณธรรมที่พึงประสงค์ปรากฏขึ้นหรือไม่เพียงใด ซึ่ง พ.ร.บ.การศึกษา พ.ศ.2542 ได้บัญญัติไว้ว่า การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม (ม.4 วรรค 1) กระบวนการเรียนรู้ มีความหมายว่า กระบวนการถ่ายทอดทั้งองค์ความรู้ คุณธรรม และสมรรถภาพทางสติปัญญา

ในการนำไปสู่ภาคปฏิบัตินั้น ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับต้องใส่ใจ ดังนี้
ในระดับบริหาร/จัดการ ผู้บริหารพึงกำหนดเป็นนโยบาย/แผนงาน เป้าหมาย ไว้ให้ชัดเจน
ในภาคปฏิบัติของครูในห้องเรียน ครูผู้สอนต้องใส่ใจและจดจ่อต่อการปลูกและ ฝัง ทั้ง 3 สิ่ง คือ องค์ความรู้ คุณธรรม และสมรรถภาพทางสติปัญญา ให้เกิดแก่ ผู้เรียนควบคู่กันไปทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ในภาคปฏิบัติของนักเรียนในห้องเรียน นักเรียนต้องได้รับกิจกรรมที่ฝึกฝน ตนเองในทั้ง 3 สิ่งที่สำคัญ คือ องค์ความรู้ คุณธรรม และสมรรถภาพทางปัญญา (ปัญญา – รู้ จดจำ เข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมิน

ค่าตามแนวทางของ Bloom หรืออื่น ๆ) ให้เกิดแก่ตัวนักเรียนเองควบคู่กันไปในแต่ละ ครั้งที่มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
จึงหมายความว่า หากผู้เกี่ยวข้องไม่ใส่ใจ ไม่จดจ่ำต่อการปลูกฝัง ความสมบูรณ์ ความสมดุลย์ ความแข็งแกร่งในด้านสติปัญญา ให้มีขึ้นควบคู่กันไปกับความรู้คู่คุณธรรม
ด้วยแล้ว เด็กไทยก็จะเสียโอกาสในการฝึกปรือ เพื่อให้ได้ความสมบูรณ์ ความสมดุลย์ ความแข็งแกร่งในด้านสติปัญญา

จุดเน้นในการปฏิรูปการศึกษา

การบริหารจัดการกระบวนการเรียนรู้เพื่อปฏิรูปการศึกษาตาม พ.ร.บ.การศึกษา แห่งชาติ พ.ศ.2542 มีจุดเน้นที่สำคัญดังนี้
1. กระบวนการเรียนรู้ เป้าหมายหลักในการบริหารจัดการศึกษา
2. กระบวนการบริหารจัดการที่ยึดหลัก “การบริหารแบบมีส่วนร่วม”
จัดกระบวนการเรียนการสอนที่ยึด “ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด” (Child Center ที่เน้น Cooperative Learning)
3. การปรับใช้การบริหารแบบร่วมมือร่วมใจ (Cooperative Administration)
จุดเน้นที่ 1 กระบวนการเรียนรู้ : เป้าหมายหลักในการบริหารจัดการศึกษา
การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ดี เก่ง มีความสุข นั้นจะต้องมีกระบวนการสำคัญ ดังนี้
1. กระบวนการหลักสูตร (ม.27-28)
2. กระบวนการเรียนการสอน (ม.22-30)
3. กระบวนการบริหารจัดการ (ม.8-9)
กระบวนการหลักสูตร (ม.27-28)
“สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาที่มีความหลากหลายตามสภาพและความ เหมาะสมกับสถานศึกษา สาระของหลักสูตรมุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้
ความคิด ความสามารถ ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม”
กระบวนการเรียนการสอน (ม.22-30)
“จัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติและเต็ม ศักยภาพ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ ค้นคว้าหาความรู้ได้คิด ปฏิบัติจริง ใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เรียนรู้อย่าง บูรณาการใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ และวัดประเมินผลตาม สภาพจริง และปรับปรุงการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง”

กระบวนการบริหารจัดการ (ม.8-9)
“มุ่งดำเนินการให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในกระบวน การบริหารจัดการ มีการสนับสนุนนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมิน เพื่อให้ครู ในสถานศึกษาสามารถพัฒนาการจัดการเรียนรู้ได้อย่างสะดวกและต่อเนื่อง”
กระบวนการหลักสูตรจะเน้นที่หลักสูตรกลาง ซึ่งจัดทำโดยกระทรวงศึกษาธิการโดยกรมวิชาการเป็นเจ้าหน้าที่จัดทำเพื่อใช้กับคน ทั้งประเทศ มีลักษณะเป็นหลักสูตร บูรณาการหลักสูตรท้องถิ่นกรมวิชาการกำหนดให้ท้องถิ่นเป็นผู้จัดทำและพัฒนา ใช้บุคลากรในท้องถิ่น ใช้ภูมิปัญญาในท้องถิ่น ใช้เนื้อหา สาระในท้องถิ่น เพื่อใช้ ในการจัดการเรียนการสอนในท้องถิ่นนั้น ๆ
กระบวนการเรียนการสอนเน้น Child Center การจัดการเรียนการสอนแบบ ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้นก็คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียน มีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น ทั้งทางร่างกาย สติปัญญา สังคม และอารมณ์ สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี ครูจำเป็นต้องออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนให้มี ลักษณะดังนี้
1. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทางร่างกาย (Physical Participation)
คือ ผู้เรียนมีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อช่วยให้ประสาทการรับรู้ของผู้เรียนตื่นต ัว พร้อมที่จะรับข้อมูลและการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น
2. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสติปัญญา (Intelligence Participation) เป็นกิจกรรมที่ท้าทายความคิดของผู้เรียน จะทำให้เกิดความจดจ่อ ในการคิด สนุกที่จะคิดเรื่องที่จะคิดจะต้องไม่ยากและไม่ง่ายเกินไปสำหรับผู้เรียน

3. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสังคม (Social Participation) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่อาศัยรวมกันอยู่เป็นหมู่คณะจะต้องปรับตัวเข้า กับบริบทต่าง ๆ
4. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางอารมณ์ (Emotional Participation)
คือ เป็นกิจรรมที่ส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกของผู้เรียนมักจะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง กับชีวิตประสบการณ์และความเป็นจริงของผู้เรียน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยใช้โมเดล BOPIPI สามารถช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม และอารมณ์ ดังนี้
B : Bridge in (ขั้นเร้าความสนใจ)
O : Objective (ขั้นแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้)
P : Pretest (ขั้นทดสอบก่อนสอน)
I : Instruction (ขั้นสอนเน้นทักษะกระบวนการเด็กแสดงกิจกรรม)
P : Posttest (ขั้นทดสอบหลังสอน)
I : Improve (ขั้นประเมินผล ปรับปรุง พัฒนา)
จุดเน้นที่ 2 กระบวนการบริหารจัดการศึกษาพึงยึดหลัก “การบริหารแบบมี ส่วนร่วม”
กระบวนการบริหารจัดการศึกษาต้องยึดหลัก “การบริหารแบบมีส่วนร่วม” (Participation Administration) ซึ่งจะนำไปสู่การบริหารจัดการแบบร่วมมือร่วมใจ (Co-operative administration) เพื่อเป็นกลไกที่สอดรับกับการจัดกระบวนการเรียน การสอนที่ยึด “ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด” (Child Center ที่เน้น Co-operative Learning)
และการฝึกอบรมแบบ “ยึดผู้อบรมมีความสำคัญที่สุด” (Traince Center)
ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้กำหนดไว้ว่า
1. การบริหารการศึกษา คือ การบริหารจัดการกระบวนการเรียนรู้เพื่อความ เจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม
2. ในที่นี้เน้นการเรียนการสอนด้วยเทคนิค Co-operative Learning และกระบวนการฝึกอบรมแบบยึดผู้เข้าอบรมเป็นสำคัญ (Traince Center Training Techique : TCT หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดความรู้ ทักษะ ทัศนคติจากวิทยากร (Trainer) ไปสู่ผู้เข้ารับการอบรม (Traince) ที่ยึดหลัก “ผู้อบรมมีความสำคัญที่สุด”

บทสรุป
เพื่อให้การบริหารจัดการศึกษาสนองเจตนารมณ์ในการปฏิรูปการศึกษาได้เป็นไปตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นั้นต้อง
1. ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องนำความหมายของการศึกษาที่หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้ เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึกอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทาง วิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และ ปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตไปสู่การปฏิบัติในระดั บการเรียนการสอนและการฝึกอบรมให้จงได้
2. ในการบริหารจัดการ กระบวนการเรียนรู้ ดังกล่าวต้องยึดหลัก “ผู้เรียนมี ความสำคัญที่สุด (Child Center : Cooperative Learning)
3. ในการฝึกอบรมเพื่อสนองเจตนารมณ์ในการปฏิรูปการศึกษาตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติดังกล่าวพึงปรับใช้หลักการ “ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด (Child Center : Co-operative Learning) มาใช้เป็นการฝึกอบรมที่ยึดหลัก “ผู้เข้าอบรมมีความสำคัญที่สุด (Traince Center Training)
4. ในการบริหารจัดการที่จักใช้เป็นพื้นฐานรองรับในการจัดการ กระบวน การเรียนรู้ที่ถือ “ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด (Child Center : Co-operative Learning) และเป็นฐานรองรับการบริหารจัดการการฝึกอบรมที่ยึดหลัก “ผู้เข้าอบรมมีความสำคัญ ที่สุด” (Traince Center Training) นั้นน่าพึงปรับใช้หลักการบริหารที่สอดคล้อง ต้องกันคือ กระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม (Paraticipation Administration) อันจักนำไปสู่การบริหารที่เรียกว่า การบริหารจัดการแบบร่วมมือร่วมใจ (Co-operative Administration) ต่อไป

วิธีการเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจ
(Cooperative Learning)

วิธีการเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจเริ่มได้รับความสนใจนำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษา ตั้งแต่ทศวรรษ 1970 (พ.ศ.2513) โดยมีความเชื่อว่าวิธีการเรียนรู้นี้จะช่วยพัฒนาและ แก้ปัญหาหลาย ๆ ด้านที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม การยอมรับความอ่อนด้อยทาง วิชาการของเพื่อนและความภาคภูมิใจในตนเอง (Self-esteem)
หัวใจของการเรียนรู้มี 3 ประการ คือ
1) รางวัลของทีม (Team reward) หมายถึง ผลของทีมที่ผู้ร่วมทีมทุกคนจะต้องรับผิดชอบและมีโอกาสเท่ากันในการประสบความสำเ ร็จ โดยทีมอาจจะได้รับรางวัลเป็นประกาศนียบัตรหรือใบประกาศเกียรติคุณเมื่อทีมบรรลุ ถึงเกณฑ์ที่กำหนด
2) ความรับผิดชอบต่อผลงานของนักเรียนแต่ละคน (Individual accountability) หมายถึง ผลเรียน ผลการทำงานของแต่ละคน เพื่อทำให้ทีมมีผลงานโดยรวมถึงเกณฑ์ที่กำหนดนักเรียนร่วมทีมจึงต้องมีภารกิจในก ารช่วยให้ผู้ร่วมทีมแต่ละคนพัฒนาผล การเรียนของตนและพร้อมตลอดเวลาสำหรับการทดสอบ
3) การมีโอกาสประสบความสำเร็จเท่าเทียมกัน (Equal opportunities for success) หมายถึง นักเรียนทุกคนไม่ว่าจะเป็นนักเรียนที่มีผลการเรียนอยู่ระดับใด สามารถสร้างผลงานให้แก่ทีมด้วยการยกระดับผลการเรียนของตนจากผลการเรียนในระดับเ ดิมของตนได้ ซึ่งจากการวิจัยหลายวิธีที่ Slavin (Slavin 1983) ชี้ให้เห็นว่าการให้รางวัล (reward) แก่นักเรียนที่สามารถยกระดับการเรียนของตนเองจะเป็นแรงจูงใจ นักเรียนได้มากกว่าการให้รางวัลเมื่อเรียนชนะผู้อื่น
Johnson (1984 : 9-10) ได้แยกแยะให้เห็นความแตกต่างระหว่างการเรียนด้วย การแบ่งกลุ่มกิจกรรมที่ใช้กันแบบเดิม ๆ กับการเรียนแบบร่วมแรงร่วมใจ (cooperative learning) ไว้ดังนี้

1. การเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจมีพื้นฐานอยู่บนความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัย กันทางบวก (Positive Interdependece) สมาชิกทั้งกลุ่มมีเป้าหมายร่วมกันและทุกคน ต้องพร้อมใจกันที่จะทำให้สมาชิกทุกคนของกลุ่มแสดงความสามารถได้เท่าเทียมกัน
2. การเรียนแบบร่วมแรงร่วมใจ สมาชิกต้องมีความชัดเจนในเรื่องความรับผิดชอบ
ต่อผลงานของแต่ละบุคคล (individual accountability) ผู้เรียนแต่ละคนต้องแสดง ข้อมูลถึงความก้าวหน้าให้กลุ่มทราบและกลุ่มก็ต้องช่วยกันแนะนำหรือช่วยเหลือให้ แต่ละคนก้าวหน้าไปถึงระดับสูงสุด แต่สำหรับกลุ่มแบบเก่าผู้เรียนที่เป็นสมาชิกกลุ่มบางคนอาจจะคอยแอบแฝงมีชื่อร่ว มในงานกลุ่ม โดยไม่มีบทบาทใดก็ได้
3. การเรียนแบบร่วมแรงร่วมใจ สมาชิกของกลุ่มจะมีลักษณะหลากหลาย แตกต่างกันในแง่ความรู้ ความสามารถและบุคลิก ขณะที่กลุ่มแบบเดิมจะมีลักษณะ ใกล้เคียงกันหรือความสนใจเรื่องเดียวกันเป็นส่วนใหญ่
4. กลุ่มแบบร่วมแรงร่วมใจ สมาชิกแต่ละคนจะมีส่วนร่วมแสดงความเป็นผู้นำ ในกลุ่มในขณะที่แบบเก่าหัวหน้ามักถูกเลือกให้บุคคลคนหนึ่งทำหน้าที่
5. กลุ่มแบบร่วมแรงร่วมใจ ทุกคนร่วมรับผิดชอบผลการเรียนของสมาชิก แต่ละคน ทุกคนต้องมุ่งมั่นและกระตุ้นให้แต่ละคนทำชิ้นงานตามที่กำหนด ในขณะที่ กลุ่มแบบเดิมสมาชิกกลุ่มไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบซึ่งกันและกัน
6. ในกลุ่มแบบร่วมแรงร่วมใจ มีเป้าหมายที่จะพัฒนาผลการเรียนของแต่ละคนให้ขึ้นถึงจุดสูงสุดของเขาพร้อมกับกา รรักษาความสัมพันธ์ในการทำงานที่ดีไว้ ส่วนกลุ่มแบบเดิมสมาชิกมุ่งเพียงทำงานที่กลุ่มได้รับมอบหมายให้เสร็จ
7. ในกลุ่มแบบร่วมแรงร่วมใจ ผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาทักษะทางสังคม หลาย ๆ ด้าน เช่น ความเป็นผู้นำ ความสามารถในการเรียนสื่อสารการร่วมมือกับผู้อื่น และการจัดการปัญหาขัดแย้ง ในกลุ่มแบบเดิมทักษะเหล่านี้มักถูกคาดหวังว่าจะเกิด แต่มักจะถูกละเลยเสียเป็นส่วนใหญ่
8. ในกลุ่มแบบร่วมแรงร่วมใจ ครูจะเป็นผู้คอยสังเกต วิเคราะห์การทำงาน ร่วมกันและให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อให้กลุ่มทำงานได้ดีขึ้น แต่ในกลุ่มแบบเดิมครูจะสังเกตแล้วเข้าไปแทรกแซงการทำงานกลุ่มมากกว่า
9. ในกลุ่มแบบร่วมแรงร่วมใจ ครูจะแนะวิธีการสร้าง “กระบวนการ” ทำงาน ที่มีประสิทธิภาพแก่กลุ่มโดยไม่มีการบังคับ แต่ในกลุ่มแบบเดิมมักไม่เน้นกระบวนการแต่เน้นที่ผลงาน
ในส่วนของเทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจนี้ กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ (2541 : 33) ได้รวบรวมไว้เพื่อเป็นแนวทางให้ครูเลือกนำไปใช้ประกอบ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามความเหมาะสมอยู่หลายเทคนิควิธี ได้แก่
1) การเล่าเรื่องรอบวง (Roundrobin) เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนในกลุ่มเล่า ประสบการณ์ ความรู้ สิ่งที่ตนกำลังศึกษาและสิ่งที่ตนประทับใจให้เพื่อน ๆ ในกลุ่ม ฟังทีละคน เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อความหมายของผู้เรียน
2) มุมสนทนา (Corners) จัดนักเรียนเป็นกลุ่มย่อยเข้าไปนั่งตามมุมหรือจุดต่าง ๆ
ของห้องเรียน ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันคิดหาคำตอบสำหรับโจทย์ปัญหาต่าง ๆ ที่ครูหยิบยกมาแล้วให้สมาชิกกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอธิบายเรื่องราวที่ตนศึกษาให้เพื ่อนกลุ่ม อื่นฟัง
3) คู่ตรวจสอบ (Pairs Check) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มย่อยกลุ่มละ 4 หรือ 6 คน ให้สมาชิกในกลุ่มจับคู่กันทำงาน เมื่อได้รับโจทย์ปัญหาหรือแบบฝึกหัดจากครู นักเรียน คนหนึ่งจะเป็นคนแก้โจทย์หรือตอบปัญหา อีกคนหนึ่งทำหน้าที่เสนอแนะวิธีการ แก้ปัญหา หลังจากทำข้อ 1 เสร็จ นักเรียนคู่นั้นจะสลับหน้าที่ เมื่อทำครบทุกข้อแล้ว แต่ละคู่จะนำคำตอบมาแลกเปลี่ยนตรวจสอบกับคำตอบของผู้อื่นในกลุ่ม
4) คู่คิด (Think – Pairs Share) ครูจะเป็นผู้ตั้งคำถามให้นักเรียนในขั้นตอน แต่ก่อนที่จะตอบ จะต้องคิดหาคำตอบของตนเองก่อนแล้วนำคำตอบของตนไปอภิปราย
กับเพื่อนอีกคนหนึ่งที่นั่งติดกับตน เมื่อมั่นใจว่าคำตอบของตนถูกต้องหรือดีที่สุด จึงนำ คำตอบนั้นมาเล่าให้เพื่อนในชั้นฟัง
5) เพื่อนเรียน (Partners) นักเรียนจับคู่ช่วยเหลือกันเรียนและทำความเข้าใจ เนื้อหาที่เป็นความคิดรวบยอดที่สำคัญ ในบางครั้งคู่หนึ่งอาจจะไปขอคำแนะนำหรือ คำอธิบายจากคู่อื่น ๆ ที่คาดว่าจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวดี เมื่อมีความเข้าใจที่ แจ่มชัดแล้วก็นำไปถ่ายทอดความรู้ให้นักเรียนคู่อื่น ๆ
6) ปริศนาความคิด (Jigsaw) ครูมอบหมายให้สมาชิกแต่ละกลุ่มศึกษาเนื้อหา ในบทเรียนหรือเอกสารที่กำหนดให้ โดยทุกกลุ่มศึกษาเหมือนกัน สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะถูกกำหนดให้ศึกษาเนื้อหาคนละตอนแตกต่างกัน นักเรียนที่ศึกษาหัวข้อเดียวกันจากทุกกลุ่มจะร่วมกันเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ หลังจากที่ทุกคนศึกษาเนื้อหาจนเข้าใจแล้วจะร่วมกันคิดหาวิธีอธิบายให้เพื่อนนัก เรียนในกลุ่มประจำของตนฟัง และจะกลับมาที่ กลุ่มประจำของตน สมาชิกที่ได้รับมอบหมายให้ศึกษาเรื่องต้น ๆ หรือโจทย์ข้อแรก ๆ จะเล่าให้สมาชิกในกลุ่มของตนฟังก่อน ทำเช่นนี้จนครบข้อสุดท้าย สมาชิกในกลุ่ม คนใดคนหนึ่งจะสรุปเนื้อหาของสมาชิกทุกคนในกลุ่มเข้าด้วยกัน และครูควรทดสอบความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนในช่วงสุดท้ายของการเรียนและให้รางว ัล
7) กลุ่มร่วมมือ (Co-op Co-op) แบ่งนักเรียนในห้องเป็นกลุ่มย่อย แต่ละกลุ่ม ย่อยร่วมกันศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยสมาชิกแต่ละคนจะแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ หลังจากที่สมาชิกแต่ละคนทำงานที่ตนได้รับมอบหมายเสร็จก็จะนำผลงานมารวมกัน เป็นงานกลุ่ม แล้วจึงนำผลงานนั้นเสนอต่อชั้นเรียนซึ่งความสำเร็จของกลุ่ม คือ ความสำเร็จของสมาชิกทุกคน
8) การร่วมมือกันแข่งขัน (Team Games Tournament (TGT) แบ่งนักเรียน ออกเป็นกลุ่ม 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีความรู้ เพศและความสามารถคละกัน กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มแข่งขัน มีจำนวนสมาชิกในกลุ่มเท่ากัน กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
เมื่อเริ่มเรียนทุกกลุ่มจะศึกษาเนื้อหาที่ได้รับมอบหมายจนแตกฉาน หลังจากนั้นสมาชิก ทุกคนในกลุ่มที่ 1 และ 2 ช่วยกันตั้งคำถามโดยไม่จำเป็นต้องเขียนคำตอบ แล้วนำไป มอบให้ผู้ประสานงานของกลุ่มที่ 3 ในขณะเดียวกันสมาชิกในกลุ่มที่ 1 และ 2 ก็จะติว ข้อคำถามให้สมาชิกในกลุ่มของตน เมื่อครบกำหนดเวลา ผู้ประสานงานกลุ่มที่ 3 จะเรียก ผู้แทนจากกลุ่มที่ 1 และ 2 สลับกันออกมาจับฉลากคำถาม แล้วตอบคำถาม โดยกลุ่ม 3 เป็นกลุ่มเฉลย ถ้าตอบถูกจะได้คนละ 1 คะแนนและเมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน ให้รวมคะแนน กลุ่มที่ได้คะแนนสูงจะได้รับคำชมเชย กลุ่มที่ได้รับคะแนนต่ำจะได้รับ การให้กำลังใจ สรุปผลการทำกิจกรรม สิ่งที่ได้เรียนรู้และข้อเสนอแนะ ครูจะอธิบาย เพิ่มเติมในส่วนที่นักเรียนไม่เข้าใจ
9) ร่วมกันคิด (Numbered Heads Together) เริ่มต้นด้วย ครูถามคำถามแล้ว ให้นักเรียนในกลุ่มย่อยช่วยกันคิดหาคำตอบ หลังจากนั้นครูจึงเรียกให้นักเรียนคนใด คนหนึ่งจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งตอบคำถาม

การประยุกต์ใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจเพื่อการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู ้

การเรียนแบบร่วมแรงร่วมใจ (COOPERATIVE LEARNING) เป็นวิธีการเรียน ที่เน้น
1. การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้นักเรียนเรียนร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ
2. แต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความรู้ ความสามารถแตกต่างกัน
3. แต่ละคนจะต้องมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการเรียนรู้และในความสำเร็จของ
กลุ่มทั้งโดย การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแบ่งปันทรัพยากรการเรียนรู้ รวมทั้ง การเป็นกำลังใจแก่กันและกัน
4. คนที่เรียนเก่งจะช่วยเหลือคนที่เรียนอ่อนกว่า
5. สมาชิกในกลุ่มไม่เพียงแต่รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองเท่านั้น แต่จะ ต้องรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของเพื่อนสมาชิกทุกคนในกลุ่ม
6. ความสำเร็จของแต่ละบุคคลคือความสำเร็จของกลุ่ม

JOHNSON & JOHNSON เสนอว่า การเรียนแบบร่วมแรงร่วมใจควรมีลักษณะดังนี้
1. แบ่งนักเรียนในห้องเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ แต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิก ที่มีความรู้ ความสามารถคละกัน ประมาณ 2-6 คน
2. สมาชิกทุกคนภายในกลุ่มต่างมีเป้าหมายที่จะทำให้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนโดยเฉลี่ยสูงขึ้น
3. สมาชิกแบ่งงานหรือหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยถือว่าความสำเร็จของสมาชิก
ทุกคนถือเป็นความสำเร็จของกลุ่ม
4. สมาชิกของกลุ่มต่างยอมรับและไว้วางใจซึ่งกันและกัน แต่ละคนยอมรับ ในบทบาทและผลงานของสมาชิกในกลุ่มเสมือนหนึ่งเป็นผลงานของตนเอง และพร้อม ที่จะยอมรับในความสามารถ จุดเด่น และจุดด้อยของเพื่อนสมาชิก
5. สมาชิกของกลุ่มต่างช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนและให้ความร่วมมือแก่กันและกัน นักเรียนเก่งจะให้กำลังใจนักเรียนอ่อน และกระตุ้นให้เพื่อนขยันยิ่งขึ้น เพื่อจะได้ ประสบความสำเร็จทางการเรียน และเมื่อได้พยายามมากแล้ว แต่ผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนไม่เพิ่มสูงขึ้น เขาก็ยังได้รับการยอรับจากเพื่อนในกลุ่ม นักเรียนแต่ละคนต้อง รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองและการเรียนรู้ของเพื่อนในกลุ่ม (สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
ต้นแบบการเรียนรู้ทางด้านหลักทฤษฎีและแนวปฏิบัติ 2540 หน้า 57)

กระบวนการกลุ่ม (GROUP PROCESS/GROUP DYNAMICS)
: พื้นฐานสำคัญอันดับแรก ๆ ของกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจ

แนวคิด

การดำรงอยู่เป็นกลุ่มเป็นวิถีชีวิตและเป็นไปตามธรรมชาติ ของมนุษย์ กระบวนการกลุ่มจึงมีอิทธิพลและมีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์

ผู้คิดค้น

Kurt Lewin ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับพลังของกลุ่มและพฤติกรรม กลุ่มของมนุษย์อันเป็นจุดเริ่มต้นของกลุ่มสัมพันธ์ เริ่มมาตั้งแต่ ค.ศ.1920
(พ.ศ.2463)

ความหมาย

มีผู้ให้ความหมายของคำว่ากลุ่ม (GROUP) หรือกลุ่มสัมพันธ์ (GROUP DYNAMICS) หรือกระบวนการกลุ่ม หรือขบวนการหมู่พวก (GROUP PROCESS) ไว้มากมาย แต่พอสรุปได้ว่า หมายถึง การที่คนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีความคิด มีการกระทำมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน มีแรงจูงใจ
ร่วมกันในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยแต่ละคนในกลุ่มมีอิทธิพล และได้รับ อิทธิพลต่อกันและกัน แต่อาจมีวัตถุประสงค์ร่วมกันหรือไม่ก็ได้
ในเมืองไทยในปี 2522 ทิศนา แขมมณี ได้ริเริ่มศึกษาและนำเอาวิชา “กระบวนการกลุ่ม” มาใช้ในการเรียนการสอนในประเทศไทย และได้แพร่หลายไปยังหน่วยงานต่าง ๆ อย่างกว้างขวางโดยใช้ชื่อต่าง ๆ กันไป เช่น กลุ่มสัมพันธ์กระบวนการกลุ่ม พลวัตของกลุ่ม พลังของ กลุ่ม
หลักการสอนโดยวิธีกระบวนการกลุ่ม

รูปแบบการสอนโดยกระบวนการกลุ่ม
1. ตั้งจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน
2. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
2.1 ขั้นนำ
2.2 ขั้นสอน
2.3 ขั้นวิเคราะห์
2.4 ขั้นสรุปและประยุกต์ใช้
3. ขั้นประเมินผล

กิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้กระบวนการกลุ่ม
1. เกม
2. บทบาทสมมติ
3. สถานการณ์จำลอง
4. กรณีตัวอย่าง
5. อภิปรายกลุ่ม ฯลฯ

รูปแบบการจัดการองค์กรกลุ่ม

รูปแบบการจัดการองค์กรกลุ่ม
1. คละนักเรียนเข้ากลุ่มให้มีสมาชิกกลุ่ม ๆ ละ 5-8 คน
(เก่ง 1-2 คน, ปานกลาง 3-4 คนและอ่อน 1-2 คน)
2. ให้กลุ่มเลือก
2.1 ประธานกลุ่ม 1 คน
2.2 เลขานุการกลุ่ม 1 คน
2.3 ผู้นำเสนอ 1 คน
3. ปฏิบัติกิจกรรมตามใบงาน ตามเวลากำหนด (อาจ 5-20 นาที) (เช่น
3.1 อภิปรายประเด็นปัญหาร่วมกัน
3.2 สรุปเป็นผลงานกลุ่ม
3.3 เขียนสรุปลงในแผ่นใส
3.4 ตัวแทนกลุ่มออกไปนำเสนอ (1-3 นาที)
3.5 ส่งใบงานให้ครู

หลักสูตร51

http://www.curriculum51.net/viewpage.php?t_id=64
http://www.curriculum51.net/viewpage.php?t_id=64

นโยบายการศึกษา

นโยบายการศึกษาของไทยกับโลกปัจจุบัน

นโยบายการศึกษาของไทยกับโลกปัจจุบัน
นโยบายการศึกษาของไทยกับโลกปัจจุบัน
โดย: pachranee
ติดประกาศ: 12-25-2007 @ 08:39 am
นโยบายการศึกษาของไทยกับโลกปัจจุบัน ทุกวันนี้มีนักวิชาการและบุคคลต่างๆออกมาวิเคราะห์และวิจารณ์การจัดการศึกษาของไทยมากมาย ซึ่งเสียงส่วนใหญ่เป็นไปในทางลบ ทั้งระบบการจัดการศึกษา และคุณภาพของผู้เรียน ส่วนใหญ่มุ่งไปที่การเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็ว จนทำให้การศึกษาของไทยและมาตรฐานผู้เรียนของไทยก้าวไม่ทันโลก จึงสมควรที่จะหันกลับมามองและคิดใหม่ว่าเกิดอะไรขึ้น โดยวิเคราะห์นโยบายการจัดการศึกษาของไทย และพิจารณาว่ามีแนวทางใดที่จะพัฒนาการศึกษาของไทยในปัจจุบัน และวางแผนเกี่ยวกับการศึกษาในอนาคตของไทย โดยการพัฒนาต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ สอดคล้องกับความเป็นไทยในบริบทโลก ถ้าจะมาวิเคราะห์นโยบายการศึกษาไทย จะพบว่ามีกำหนดไว้ในเอกสารของทางราชการหลายแห่ง แหล่งที่สำคัญมี 4 แหล่ง คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แผนการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ และนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา (สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. 2536 :379-381) นโยบายสมัยดั้งเดิมของไทยเป็นการศึกษาตามอัธยาศัย ยังไม่มีระบบโรงเรียน การศึกษาสมัยใหม่เริ่มในรัชกาลที่ 5 เน้นผลิตกำลังคนเข้ารับราชการ นโยบายการศึกษาสมัยเริ่มการปกครองระบอบประชาธิปไตย เน้นพื้นฐานการเป็นพลเมืองดี การเรียนรู้ระบอบประชาธิปไตย ในช่วงยุคสงครามโลกเน้นความเป็นชาตินิยม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เน้นการขยายตัวของการศึกษาทุกระดับ ในสมัยประชาธิปไตยเปลี่ยนชื่อโครงการศึกษามาเป็นแผนการศึกษาชาติ และมีการกำหนดนโยบายการศึกษาในรัฐธรรมนูญและนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎร จนกระทั่งนโยบายการศึกษาสมัยพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ กำหนดนโยบายและทิศทางของการพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม มีการขยายการศึกษาทุกระดับ โดยเฉพาะระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษาและอุดมศึกษา และเมื่อพิจารณานัยแห่งเจตนารมณ์บางมาตราในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้แสดงเจตจำนงของรัฐและรัฐบาลอย่างชัดเจนในเรื่องนโยบายการศึกษาของไทย โดยให้มีการปฏิรูปการศึกษาขึ้น ซึ่งถ้าวิเคราะห์องค์ประอบของนโยบายการศึกษานี้ ตามแนวทางทั้ง 4 ลักษณะ ตามโครงสร้างและกระบวนการ คือ 1. นโยบายในฐานะแม่บทของการบริหาร 2. นโยบายในฐานะส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาการศึกษา 3. นโยบายในฐานะเป็นกรอบของการปฏิบัติ และ 4. นโยบายในฐานะเป็นกระบวนการ จะเห็นว่านโยบายการศึกษามีความชัดเจนเป็นแม่บทของการบริหาร ครอบคลุมหน่วยงานทุกระดับ เป็นแม่บทของการดำเนินงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ และยังมีการกำหนดเงื่อนไขของระยะเวลาที่ปฏิบัติ มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาของชาติ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจลังคม ซึ่งมีการปรับตามความเหมาะสมว่าควรเร่งพัฒนาคนอย่างไร ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 8 จนถึงปัจจุบันฉบับที่ 10 ก็ยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน ซึ่งหมายถึงพัฒนาการศึกษาให้ทันยุคทันการเปลี่ยนแปลงของโลก และนโยบายในฐานะที่เป็นกรอบของการปฏิบัติ คือ มีทั้งแนวทางปฏิบัติและกฎเกณฑ์ปรากฏชัดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ส่วนในฐานะของกระบวนการ ก็คือ เมื่อมีการกำหนดนโยบาย ก็ต้องมีการนำโยบายไปปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติก็ต้องมีการประเมินผล และนำผลย้อนกลับมาพิจารณาตัดสินว่า นโยบายควรมีพลวัต ควรปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก ซึ่งประการนี้ก็ปรากฏให้เห็นว่า เจตจำนงของผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายมีการพิจารณาและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจริง ดังปรากฏตามวาระเมื่อมีการเปลี่ยนสมัยของรัฐบาลเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สาระสำคัญของ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติในรูปนโยบายและแผน เป็นที่เข้าใจกันแล้วว่าชัดเจน ซึ่งถ้าเปรียบนโยบายเป็นหางเสือในการเดินเรือไปตามทิศทางที่กำหนด และแผนเป็นการจัดเตรียมสัมภาระต่างๆที่ใช้ในการเดินเรือ ตลอดจนตรวจสภาพเรือก่อนออกเดินทาง นโยบายและแผนก็ดูเหมือนพร้อมที่จะนำพาการศึกษาของไทยไปสู่จุดมุ่งหมาย ถ้าพิจารณาวัตถุประสงค์ ที่ว่าจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (มาตรา 6) โดยมุ่งปลูกจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งพาตนเองมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง (มาตรา 7) (สำนักนโยบายและแผนการศึกษาฯ สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2543) ทิศทางก็ยิ่งชัดเจน ส่วนนโยบายข้อที่ 1 คือ ความเสมอภาคของโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เร่งจัดการศึกษาให้บุคลมีสิทธิและโอกาสเท่าเทียมกัน ในการเข้ารับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย โดยมีเป้าหมายความสำเร็จภายในไม่เกิน 5 ปี นโยบายข้อที่ 2 เป็นเรื่องการพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา ซึ่งก็กำหนดระยะเวลาการปฏิบัติไว้ นโยบายข้อที่ 3 เกี่ยวกับปฏิรูประบบริหารและการจัดการศึกษา ซึ่งนำไปสู่การกระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการมีส่วนร่วมของส่วนที่เกี่ยวข้อง นโยบายข้อที่ 4 ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ทำให้เกิดการปฏิรูปกระบวนการผลิตครู การส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพ การพัฒนาบุคลากรทางด้านการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชัพชั้นสูง(มาตรา 9 (4), 52) นโยบายข้อที่ 5 หลักสูตร และนโยบายข้อที่ 6 กระบวนการเรียนรู้ จะเห็นว่านโยบาย 2 ข้อนี้ทำให้เกิดการปฏิรูปการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ นโยบายข้อที่ 7 เกี่ยวกับทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษาและนโยบายข้อที่ 8 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จากพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งได้มีแนวทางและกติกาการจัดรูปแบบการจัดการศึกษาของชาติไว้อย่างละเอียดและครบถ้วนสมบูรณ์ จึงนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษา 5 ด้าน ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่า ปัญจปฏิรูป” (ธีระ รุญเจริญ. 2550: 9) การนำนโยบายการศึกษาไปปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ มีการประเมินตลอดทั้งผู้ที่อยู่ในแวดวงวิชาการการศึกษาและบุคคลทั่วไป รวมทั้งมีนักวิชาการทำการวิจัยถึงผลของการปฏิบัติการ ซึ่งปรากฏเป็นข่าวให้รับทราบกันตลอดเวลา เพราะแนวทางหนึ่งในการกำกับนโยบายก็คือ การศึกษาข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการกำกับติดตามนโยบาย ที่ดูเหมือนคนในชาติแทบทุกส่วนพยายามทำหน้าที่นี้ ซึ่งก็เป็นข้อดีสำหรับผู้มีอำนาจหรือผู้มีหน้าที่ในการตัดสินใจกำหนดนโยบายจะได้มีข้อมูลประกอบการพิจารณา ดังเช่นในรัฐบาลปัจจุบันที่มีศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีวาระการทำงานเพียง 1 ปี ได้แถลงนโยบายทิศทางการปฏิรูปการศึกษา ว่าในช่วงเวลาประมาณ 1 ปีจะต้องทำงานด้านการศึกษาให้เป็นรูปธรรม โดยทบทวน 3 ประเด็นหลัก อันเป็นที่มาของนโยบายการศึกษาดังนี้ 1. การปรับแก้ไขปัญหาอุปสรรคการปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาลที่แล้ว ได้แก่ การจัดอัตรารับรองข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และปัญหาเงินวิทยฐานะ 2. การเสริมเติมเต็มการปฏิรูปการศึกษาให้เดินทั้งระบบและครบกระบวนการ 3. ปรับแต่งให้การปฏิรูปการศึกษาสอดคล้อง-สนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลง และได้นำ 3 ส่วนนี้มากำหนดเป็นนโยบายปฏิรูปการศึกษา 6 ประการ ซึ่งได้แก่ 1. เร่งรัดการปฏิรูปการศึกษาโดยยึดคุณธรรมนำความรู้ 2. ขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชาชนให้กว้างขวางและทั่วถึง โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย 3. พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ 4. กระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่และสถานศึกษา 5. การมีส่วนร่วมของประชาชน ภาคเอกชนและท้องถิ่น 6. การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สร.สาร สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ.7(พ.ย. 2549:1-5) นอกจากนี้ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้บรรยายในงานเฉลิมฉลอง “5 ทศวรรษ ครุศาสตร์ จุฬาฯ-ร่วมเฉลิมฉลอง 90 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ 115 ปีการฝึกหัดครูไทยเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2550 ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับโอกาสและความหวังของการศึกษาไทย โดยวิเคราะห์ว่าโอกาสและความหวังของการศึกษาไทยขึ้นอยู่กับปัจจัย 5 ประการ โดยปัจจัย 2 ประการแรก คือ เจตจำนงแห่งรัฐและเจตจำนงแห่งรัฐบาลนั้นเป็นโอกาส เนื่องจากมีความชัดเจนในนโยบายที่สนับสนุนด้านการศึกษา ปัจจัยที่ 3 คือเจตจำนงแห่งประชาชน ก็ถือเป็นปัจจัยสนับสนุน เพราะประชาชนทุกระดับให้ความสนใจในเรื่องการศึกษามากขึ้น แต่ปัญหา คือ ปัจจัยที่ 4 ประเทศไทยนั้นยังวิกฤตเรื่องขาดภาวะผู้นำทางการศึกษา ทั้งระดับรัฐและระดับองค์การ จึงสมควรที่จะสร้างผู้นำไม่ใช่รอให้เกิดเอง และปัจจัยสุดท้าย ปัจจัยเกื้อหนุนด้านทรัพยากรและเทคโนโลยี ซึ่งยังขาดกระบวนการบริหารจัดการที่ดี ให้ทรัพยากรที่มีสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุด แต่ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา โลกดูเหมือนจะถูกย่อให้เล็กลงด้วยวิทยาการก้าวหน้าด้านการสื่อสารโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้กลายเป็นโลกไร้พรมแดน และทำให้คนบนโลกทีการติดต่อสื่อสารกันอย่างรวดเร็ว นำไปสู่การผสมผสานความคิด ค่านิยม ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ระหว่างมวลมนุษยชาติหรือที่เรียกว่า โลกาภิวัตน์ที่นำโลกเข้าสู่ยุคแห่งการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองระหว่างประเทศใหม่ อันมีผลกระทบต่อทุกชาติ ทุกภาษารวมทั้งประเทศไทย ถึงแม้กระแสโลกาภิวัตน์จะมีประโยชน์มากมายแต่ก็นำมาซึ่งสิ่งไม่ดีที่แฝงมาด้วย และก่อให้เกิดโทษมากมาย ที่เป็นประเด็นถกเถียงกันทุกวันนี้ มีข่าวและประเด็นต่างๆที่มีผู้นำเสนอผลงานวิจัยบ้าง ออกมาวิจารณ์แสดงความคิดเห็นบ้าง ถึงความล้มเหลวของระบบการศึกษาไทย ทั้งการปฏิรูปการศึกษาที่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ คุณภาพผู้เรียนตกต่ำ ปัญหาครูไม่มีคุภาพ หลักสูตรไม่สอดคล้องกับความต้องการบ้าง ซึ่งผลงานส่วนใหญ่กระทรวงศึกษาก็รับไปเต็มๆ เช่น ตัวอย่างข่าวการศึกษา (คม-ชัด-ลึก 17 สิงหาคม 2550) ระบบการศึกษาไทยห่วย มหาวิทยาลัยถูกคุมเข้ม-หลักสูตรไม่ได้มาตรฐาน  ศ.ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม กล่าวเปิดพร้อมปาฐกถาพิเศษ ในงานสัมมนาวิชาการครบรอบ 3Ø ปี ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยชิคาโก-มหาวิยาลัยหอการค้าไทย เรื่อง ยุทธศาสตร์ด้านไอทีต่อการพัฒนาองค์ความรู้ ตอนหนึ่งได้กล่าวถึงปัญหา ระบบการศึกษาไทยระดับอุดมศึกษาค่อนข้างแย่มาก เนื่องจากมหาวิทยาลัยถูกควบคุมเยอะมาก หลักสูตรไม่ได้มาตรฐาน นักศึกษามีความรู้ด้านภาษาอังกฤษไม่ดี  รศ.วิทยา เชียงกูลØควรสนับสนุนให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนา  คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต นำเสนอผลงานวิจัย เรื่อง สภาวะการศึกษาไทย ปีพ.ศ. 2549-2550 “รัฐบาลจัดสรรงบด้านการศึกษาให้ถึง 21% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ จีดีพี แต่ตัวเลขของเด็กที่มีโอกาสเข้าเรียนในระดับอนุบาลและประถมศึกษาลดลงจากเมื่อ 4 ปีที่แล้ว นักวิชาการชี้ปัญหาการศึกษาไทยถึงขั้นโคม่า(กรุงเทพธุรกิจออนไลน์: 17  นักวิชาการชี้ปัญหาการศึกษาไทยถึงขั้นโคม่าØสิงหาคม 2550)  ทั้งปัญหาขาดคนเก่งมาเป็นครู ใช้งบประมาณไม่มีประสิทธิภาพ มาตรฐานผู้เรียนค่อนข้างวิกฤต มีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เอกชนยังมีส่วนร่วมจัดการศึกษาไม่เต็มที่ แถมไร้ผู้นำทางการศึกษาในทุกระดับ  ดร.เลขาØ(ข้อคิดจาก ศ.ดร.บุญเสริม วีสกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาการศึกษา)  ปิยะอัจฉริยะ และคุณหญิง กษมา วรวรรณ ณอยุธยา มีความเห็นตรงกันกับการลดขนาดศธ.  รศ.ดร.พฤทธิ์Øและเตรียมงบอุดหนุนเขตพื้นที่การศึกษาให้มีความพร้อม  ศิริบรรณพิทักษ์ คณะบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าปฏิรูปการศึกษามาทุกทิศทุกทางแล้ว เพียงแต่ยังเดินหน้ามาไม่ถึงครึ่งทาง หากต้องการยกระดับการศึกษาให้เห็นหน้าเห็นหลัง ก็ควรใช้ทรัพยากรมากกว่านี้ แต่เมื่อภาครัฐมีทรัพยากรจำกัด ก็ควรให้องค์กรอื่นร่วมจัดการศึกษา ประเทศต่างๆต้องมีพลวัต คือความสามารถในการปรับตัวสูง ให้คนในชาติมีความสามารถในการเรียนรู้และปรับตัวต่อสถานการณ์ใหม่ๆ ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะส่งผลต่อทั้งเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความมั่นคงทางสังคม จึงจำเป็นที่ประเทศต่างๆจะต้องมีหลักที่ดีในการสงวนรักษาเอกลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมของตนเอง คนในชาติต้องมีปัญญาที่จะไตร่ตรอง และมีความรู้เท่าทันความเจริญทางวัตถุ มีความพอดีในการแสวงหาปัจจัยต่างๆ เพื่อสามารถก้าวทันโลกได้อย่างมั่นคงและรู้เท่าทัน ประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ไม่ว่าประเทศพัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนา ก็มีประเด็นปฏิรูปการศึกษาที่สำคัญๆดังนี้ 1. การกระจายอำนาจการบริหารการศึกษาสู่โรงเรียนหรือสถานศึกษา 2. การประกันคุณภาพ 3. การฝึกหัดครูและความเป็นผู้นำในด้านการศึกษา 4. การให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชนมีส่วนร่วมจัดการศึกษาในโรงเรียน 5. งบประมาณและการโอนการศึกษาให้ภาคเอกชน 6. การขยายการศึกษาขั้นพื้นฐาน 7. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการศึกษา 8. การศึกษากับประเด็นทางการเมือง มีหลายแนวคิดที่เสนอแนะให้กับการพัฒนาการศึกษาของไทย เริ่มมีคนบางกลุ่มที่ไมเชื่อในระบบโรงเรียน ได้นำการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือ Home School มาใช้อีก การศึกษาไทยในทศวรรษนี้ หรือการที่กระแสโลกาภิวัตน์ทำให้โลกแคบเข้า เกิดความร่วมมือและแข่งขันในด้านต่างๆสูง จำเป็นต้องสร้างปัจจัยอันเป็นข้อได้เปรียบในการพัฒนา โดยพัฒนาคุณภาพประชากร กำลังคน เทคโนโลยีสารสนเทศ การให้คนไดรับการศึกษาสูงขึ้น โดยมุ่งการศึกษาตลอดชีวิต โดยการมุ่งการศึกษาตลอดชีวิต เน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ เร่งการกระจายโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้มากขึ้น ปรับปรุงโครงสร้างและระบบการบริหารมหาวิทยาลัยของรัฐให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ มีอีกแนวทางที่น่าสนใจ ในหนังสือ อาจารย์มืออาชีพ : แนวคิด เครื่องมือ และการพัฒนา ซึ่งมี ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ เป็นบรรณาธิการ เสนอ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนในสังคมฐานความรู้ (สุดาพร ลักษณียนาวิน .2550) การพัฒนาประเทศไทยซึ่งมีภาคเกษตรเป็นฐานสำคัญทางเศรษฐกิจ ควรพัฒนาสินค้าทางเกษตรให้เป็นอุตสาหกรรมการเกษตร หรือสินค้าแปรรูปจึงจะเหมาะสมการศึกษาต้องเกิดจากความเข้าใจสภาพของผู้เรียนรวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างกิจกรรมที่เหมาะสมกับระดับและศักยภาพของผู้เรียน เช่น ผู้สอน เพื่อนร่วมชั้นเรียน สื่อ รวมทั้งสภาพสังคมนอกห้องเรียน การศึกษาตามทฤษฎีสานสร้างความรู้จากสังคม มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมสารสนเทศ ทั้งนี้เพราะผู้เรียนสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้อย่างไม่จำกัด ซึ่งแนวคิดนี้เสนอวิธีการเรียนการสอนหลายรูปแบบที่น่าสนใจ ได้แก่ การเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน (Team-Based Learning) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem -Based Learning) การเรียนรู้ที่มีวิจัยเป็นฐาน (Research-Based Learning) และการเรียนรู้ด้วยการตกผลึกทางปัญญา (Crystal-Based Learning) ในภาพรวมสรุปว่านโยบายการศึกษาของไทยนั้นชัดเจน ทั้งกฎหมายที่เป็นบทบัญญัติ ทั้งภาคการเมืองและประชาชนก็มีส่วนสนับสนุน แต่การที่ยังไม่ส่งผลในการพัฒนาประเทศและประชาชนไทยนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ถ้าจะเทียบกับประเทศที่ประสบผลสำเร็จในด้านการศึกษา เช่น ผู้นำและผู้กำหนดนโยบายในหลายประเทศได้สร้างวิสัยทัศน์ขึ้น โดยชี้ให้เห็นว่าประเทศมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการศึกษา ให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของการพัฒนาประเทศและสังคมโลกที่มีการแข่งขันสูง รัฐบาลมาเลเซียภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีมหาธีร์ ได้เสนอวิสัยทัศน์ 2020 โดยเน้นว่า การศึกษาเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมความเป็นเอกภาพของประเทศ ความเสมอภาคในสังคม และความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สิงคโปร์ กำหนดวิสัยทัศน์โรงเรียนแห่งความคิด ชาติแห่งการเรียนรู้และรณรงค์ให้การเรียนรู้เป็นวัฒนธรรมของชาติ ส่วนจีน ไต้หวัน เกาหลี ฮ่องกง ไทย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย ต่างทบทวนจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ในทศวรรษใหม่(ศูนย์ความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อปฏิรูปการศึกษา.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2543:49-56) โดยรวมนโยบายการศึกษาของไทยมีความชัดเจน ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งทุกคนต้องถือปฏิบัติ และได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ส่วนการนำนโยบายทางการศึกษาไปใช้ ในระยะเวลาที่ผ่านมาสำหรับการศึกษาของไทย มีทั้งส่วนที่ประสบผลสำเร็จและส่วนที่ยังเป็นปัญหา โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากโลกาภิวัตน์มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของไทย คงต้องใช้เวลาในการพัฒนาต่อไป โดยเร่งสร้างเร่งพัฒนาผู้นำทางการศึกษา ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปฏิรูปรูปแบบการเรียนการสอนใหม่เพื่อสร้างคุณภาพให้ผู้เรียนที่จะต้องก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก เพราะไม่มีนโยบายใดที่นำไปปฏิบัติแล้วได้ผลเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ในทันที และใช่ว่าประเทศอื่นจะไม่ประสบปัญหา เพราะประเด็นปัญหาที่หลายประเทศต้องเผชิญ เมื่อนำนโยบายด้านการศึกษาโดยเฉพาะการปฏิรูปการศึกษาไปใช้ในการกระจายอำนาจการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียน ปัญหาที่พบได้แก่ ความมีอิสระในการบริหารตนเอง กับความจำเป็นที่ต้องมีการตรวจสอบ การกระจายอำนาจการบริหารกับความเสมอภาคทางการศึกษา การเปลี่ยนแลงเทคโนโลยีและวัฒนธรรม การกระจายอำนาจการบริหารกับผลที่ได้รับ รวมถึงการลดขนาดหน่วยงานกลางลงเมื่อมีการกระจายอำนาจ ซึ่งปัญหาก็ขึ้นกับบริบทของประเทศ การจะแก้ปัญหาต้องพิจารณาแนวทางที่เหมาะสม พิจารณาถึงความเป็นไปได้ของประเทศไทย เอกสารอ้างอิง งานจัดการฐานข้อมูล กลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศ ศูนย์สารสนเทศ สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ. 2549. แหล่งที่มา: www.moe.go.th. เรื่องการศึกษาของไทยในอดีต. ไพฑูรย์ สินลารัตน์. 2550. อาจารย์มืออาชีพ : แนวคิด เครื่องมือ และการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: เครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย. ธีระ รุญเจริญ. 2550. ความเป็นมืออาชีพในการจัดการและบริหารการศึกษา ยุคปฏิรูปการศึกษา . กรุงเทพมหานคร: บริษัท แอล.ที.เพรส. จำกัด. วิตร ศรีสอ้าน. 2544. หน่วยที่ 1 แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับนโยบาย ประมวลสาระชุดวิชานโยบายและการวางแผนการศึกษา .พิมพ์ครั้งที่ 3.นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ศูนย์ความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อปฏิรูปการศึกษา.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2543. การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาทางการศึกษา ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก : แนวโน้มและประเด็นสำคัญ Educational Change and Development in the Asia-Pacific region : trends and issues . กรุงเทพมหานคร:ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟันนี่พลับบลิชชิ่ง. สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ. 2549. นโยบายทิศทางการปฏิรูปการศึกษา :ยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ. สร.สาร. 7(พฤศจิกายน):1-5. สำนักนโยบายและแผนการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. 2543. การวิเคราะห์ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติในรูปแบนโยบายและแผน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

การศึกษาในปัจจุบัน

จุดมุ่งหมายของการศึกษา

การศึกษา คือ “กระบวนการเรียนรู้” ของคนและสังคม
จุดมุ่งหมายของการศึกษาที่ควรจะเป็น ตามทัศนะของเราในยุคปัจจุบัน
ควรเป็นอย่างไร
 
               
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ อธิบายความหมาย การศึกษาไว้อย่างชัดเจนว่า การศึกษา คือ กระบวนการเรียนรู้ ของคนและสังคม คนทุกคนที่มารวมกันเป็นสังคมมนุษย์ต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน ถึงจะสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับสังคมและประเทศชาติ สถานศึกษาซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้บริการการเรียนรู้แก่ผู้เรียนโดยตรง จึงมีภารกิจมีบทบาทและความสำคัญในฐานะหน่วยงานที่จัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับ คน และ สังคม
                การศึกษา เน้นให้ความสำคัญกับ ผู้จัด แต่ การเรียนรู้ ให้ความสำคัญกับ ผู้เรียน ดังนั้น บทบาทของสถานศึกษาจึงไม่ใช่ โรงสอน แต่เป็น โรงเรียน  ที่ผู้เรียนมาเพื่อการเรียนรู้ สถานศึกษาจึงต้องจึงต้องจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนและสังคม
มาตราที่ ๒๒ ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
ดังนั้น จุดมุ่งหมายของการศึกษาที่ควรจะเป็น ตามทัศนะของเราในยุคปัจจุบัน ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ หมายถึง สถานศึกษาต้องจัดกิจกรรมการเรียนที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน มีความสนใจและความถนัดที่ไม่เหมือนกัน ถ้าโรงเรียนได้จัดการศึกษาที่สอดคล้องกับผู้เรียนแต่ละคน ประเทศของเราจะมีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ มีความสามารถยอดเยี่ยมและหลากหลาย สามารถคิดอย่างเป็นระบบ มีเหตุผล และเราก็สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก
มาตรา ๒๓ กำหนดว่า การจัดการศึกษา ต้องเน้นและให้ความสำคัญใน ๓ เรื่อง คือ ความรู้ คุณธรรม และกระบวนการเรียนรู้ โดยให้บูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่างๆ 5เรื่อง ซึ่งเป็นแนวของสาระหลักสูตรนั่นเอง โดยกำหนดไว้ในแต่ละข้อ ดังนี้
๑. ความรู้เกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์กับสังคม ในอดีตสถานศึกษามักจัดให้ผู้เรียนเรียนเรื่องที่ไกลตัว ผู้เรียนต้องท่องจำชื่อเมือง ชื่อแม่น้ำในต่างประเทศ แต่ไม่รู้จักสถานที่ในประเทศไทย ผู้เรียนรู้จักผู้ค้นพบทวีปอเมริกา แต่ประวัติท้องถิ่นหรือหมู่บ้านของตนเองกลับไม่มีความรู้เลย  ความคิดเรื่องการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองนี้สอดคล้องกับหลักจิตวิยาการเรียนรู้ ที่ว่าให้เราเริ่มต้นเรียนกับเรื่องของตนเองและสิ่งใกล้ตัวก่อน แล้วจึงขยายกว้างออกสู่สังคม ซึ่งได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติและสังคมโลก ดังนั้น เมื่อเราจัดหลักสูตรก็ต้องเน้นความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และความเป็นมาของสังคมไทย การเมืองการปกครองของสังคมไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขให้เข้าใจถ่องแท้ ก่อนที่จะเรียนเรื่องประเทศอื่น
๒.   ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่งที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ เพื่อประโยชน์สำหรับการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะเรื่องการจัดการบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล ยั่งยืน ประเทศไทยได้ชื่อว่ามีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย แต่ไม่รู้วิธีการจัดการ เราจึงมีปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม ป่าถูกทำลาย ฯลฯ ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีขนาดเล็กและพลเมืองน้อยไม่มีทรัพยากรใดๆ แต่มีความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความสามารถในการจัดการสูงสามารถพัฒนาประเทศจนมั่งคั่งอยู่ในระดับต้นๆของโลก
๓.  ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาเหล่านั้น ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ภูมิปัญญาไทยได้รับความสำคัญอย่างยิ่งในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสาระหลักสูตรที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้
๔.  ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์ ภาษา โดยเฉพาะให้ความสำคัญกับการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง ระบบการศึกษาไทยที่ผ่านมามักจะละเลยภาษาประจำชาติ ผู้เรียนจึงมองข้ามความสำคัญของความรู้ด้านนี้ แต่โดยสาระบัญญัติข้อนี้ ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีนโยบายด้านภาษา ทั้งภาษาประจำชาติและภาษาต่างประเทศ ซึ่งในยุคโลกาภิวัตน์ คนไทยควรพูดภาษาต่างประเทศได้อย่างน้อย 2 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารระดับสากลมากที่สุด และภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ภาษามลายู ภาษาจีน หรือภาษาญี่ปุ่น ซึ่งจำเป็นสำหรับการติดต่อค้าขายในภูมิภาค
๕.   ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
การกำหนดหลักสูตรทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษา การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องนำทั้ง ๕ เรื่องนี้มาเป็นแกนสำหรับการจัดการศึกษา โดยในมาตราที่ ๒๗  ได้กำหนดให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดทำหลักสูตรแกนกลาง โดยให้สถานศึกษาจัดทำสาระในรายละเอียดและหลักสูตรท้องถิ่นและมาตรา ๒๘ กำหนดว่าสาระของหลักสูตรต้องมุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุล
ฉะนั้นในการกำหนดหลักสูตรต้องนำมาตรา ๒๓ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๒๘ มาบูรณาการ ซึ่งจะทำให้มีการขยายความออกไปเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย การเป็นพลเมืองที่ดี การประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ซึ่งจะทำให้ได้หลักสูตรที่สมบูรณ์และชัดเจน
จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาต้องตอบคำถามตัวเองให้ได้ตลอดเวลาว่า เราจัดการศึกษาเพื่ออะไร และเพื่อใคร พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ระบุชัดว่า ต้องจัดการศึกษาเพื่อให้คนไทยเป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์

การศึกษาในอดีต - ปัจจุบัน

กว่า 120 ปีมาแล้ว ที่ โรงเรียนแห่งแรกได้ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทย ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อผลิตคนเข้ารับราชการ นับแต่นั้นมาระบบการศึกษาของไทยก็ได้เหวี่ยงตัวอยู่ภายใต้ระบบโครงสร้างทางการเมืองและเศรษฐกิจเรื่อยมายุคแล้วยุคเล่าโดยตลอด
สานปฏิรูป ฉบับส่งท้ายปีเก่านี้ ใคร่ขอเสนอภาพของเส้นทางการศึกษาไทยที่เริ่มปรากฏโครงสร้างชัดเจนในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนกระทั่งถึงปัจจุบัน พร้อมได้สอดแทรกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้เห็นถึงความเชื่อมโยงกับการศึกษาของแต่ละยุคสมัยได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
(หมายเหตุ : เนื่องด้วยรายงานเรื่องนี้ค้นคว้ามาจากแหล่งข้อมูลหลายแห่ง บางเหตุการณ์จึงอาจปรากฏทั้งวันที่ เดือน และปี พ.ศ. ขณะที่บางเหตุการณ์ปรากฏเพียงเดือนและปี พ.ศ.  หรือปี พ.ศ. อย่างเดียว)
มกราคม  2414 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง โรงเรียนหลวง” (โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ) สำหรับบุตรหลานคนชั้นสูงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง นับเป็นโรงเรียนแรกตามรูปแบบของโรงเรียนในปัจจุบัน กล่าวคือมีสถานที่ซึ่งจัดไว้โดยเฉพาะ มีฆารวาสเป็นครู และมาทำการสอนตามเวลาที่กำหนด สำหรับความมุ่งหมายในการตั้งโรงเรียนคือ การสร้างคนให้มีความรู้เพื่อเข้ารับราชการ (ต่อมาได้มีการขยายโรงเรียนหลวงออกไปอีกหลายแห่ง)
2414 (หลังจากก่อตั้งโรงเรียนหลวง) พระยาศรีสุนทรโวหารได้เรียบเรียงแบบเรียนหลวงขึ้น มี 6 เล่ม สำหรับใช้เป็นหลักสูตรวิชาชั้นต้น แบบเรียนทั้ง 6 เล่มคือ มูลบทบรรพกิจ วาหนิตนิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจนพิจารณ์ และ พิศาลการันต์
พฤษภาคม 2427 จัดให้มีการ วิธีไล่หนังสือไทยหรือการสอบไล่ ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ปรากฏว่าในการสอบไล่ครั้งที่ 3 ที่จัดให้มีขึ้นในปี พ.ศ. 2429 นอกจากนักเรียนของสวนกุหลาบแล้ว มีนักเรียนจากที่อื่นมาทำการสอบเพิ่มขึ้น ดังมีผลสอบคือ 1.โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ 23 คน ได้ 10 คน ตก 13 คน 2. โรงเรียนสราญรมย์  5 คน ได้ 3 คน ตก 2 คน 3. โรงเรียนวัดต่างๆ 41 คน ได้ 13 คน ตก 28 คน
มีนาคม  2428 ได้มีการกำหนด หลักสูตรประโยคต้น และ ประโยคสองขึ้น นับเป็นการเริ่มต้นปรับปรุงหลักสูตรอย่างมีแบบแผนรัดกุมเป็นครั้งแรก (หลักสูตรชั้นต้นนั้นคือการเรียนแบบเรียนหลวงทั้ง 6 เล่ม ส่วนหลักสูตรประโยคสองแบ่งเป็น 8 วิชาโดยมุ่งเน้นทักษะสำหรับฝึกคนให้ไปเป็นเสมียนรับราชการ)
มิถุนายน 2428 มีการ ประกาศโรงเรียนโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการประกาศชี้แจงความมุ่งหมายของการศึกษาและชักชวนให้ราษฎรนิยมการเรียนหนังสือ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากที่พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรแห่งแรกขึ้น ที่วัดมหรรณพาราม เมื่อ พ.ศ. 2427 ซึ่งปรากฏว่ามีประชาชนแตกตื่น กลัวว่าจะเป็นการเกณฑ์เอาบุตรหลานของตนไปเป็นทหาร
6 เมษายน  2430 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง กรมศึกษาธิการโดยโอนโรงเรียนต่างๆ ที่เคยอยู่ในสังกัดกรมทหารมหาดเล็ก และโรงเรียนทั้งหมดมาขึ้นกับกรมศึกษาธิการ
2431 มีคำสั่งยกเลิกการใช้ แบบเรียนหลวง 6 เล่มของพระยาศรีสุนทรโวหาร โดยให้ใช้ แบบเรียนเร็วของกรมศึกษาธิการแทน โดยเพิ่มความรู้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น นอกเหนือไปจากวิชาภาษาไทย
2432 กรมศึกษาธิการได้ไปรวมอยู่ในบังคับบัญชาของกรมธรรมการ และในปีต่อมา(2433)ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกรมธรรมการ
1 เมษายน 2435 ตั้งกระทรวงธรรมการ โดยนำกรมต่างๆมารวมกันคือ กรมศึกษาธิการ กรมพยาบาล กรมพิพิธภัณฑ์ และกรมสังฆการี การจัดตั้งกระทรวงธรรมการถือเป็นการรวบความรับผิดชอบในการศึกษาที่เคยแยกเป็น 2 ฝ่ายคือ พุทธจักร กับอาณาจักร เข้ามาสู่ความรับผิดชอบของหน่วยงานเดียว
20 มิถุนายน 2435 ประกาศตั้ง โรงเรียนมูลศึกษาขึ้นในวัดทั่วไปทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมือง โดยมีเป้าหมายต้องการขยายการเรียนหนังสือไทยให้แพร่หลาย และเป็นแบบแผนยิ่งขึ้น โรงเรียนมูลศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือโรงเรียนมูลศึกษาชั้นต่ำ และโรงเรียนมูลศึกษาชั้นสูง สำหรับเอกชนที่ต้องการจะตั้งโรงเรียนทั้งสองชั้น สามารถขออนุญาตกระทรวงธรรมการจัดตั้งเป็น โรงเรียนเชลยศักดิ์
12 ตุลาคม 2435 จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูขึ้นเป็นครั้งแรก โดยอาศัยโรงเลี้ยงเด็กเป็นสถานที่เรียน(ต่อมาคือโรงเรียนเบญจมราชูทิศ) มีนาย เอช. กรีนรอด ชาวอังกฤษเป็นอาจารย์ใหญ่ ลูกศิษย์ของนายกรีนรอดมีอาทิเช่น นายนกยูง(พระยาสุรินทราชา) นายบุญรอด(พระยาภิรมย์ภักดี) นายสนั่น(เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี) และนายเหม(พระยาโอวาทวรกิจ)
1 กันยายน 2439 จัดตั้งโรงเรียนในทำนอง ปับลิคสกูลขึ้นที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา เรียกว่า โรงเรียนราชวิทยาลัยโดยมีจุดหมายสองประการคือ การเตรียมคนไปศึกษาต่อต่างประเทศ และการเตรียมคนเข้ารับราชการในกระทรวงต่างๆ
ใน พ.ศ. 2440 ช่วงกลางปีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก การเสด็จประพาสในครั้งนี้ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากแก่การศึกษาไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องแนวความคิดการจัดการศึกษา
21 มิถุนายน 2441 กระทรวงธรรมการได้เสนอโครงแผนการศึกษาในกรุงสยามของกรมศึกษาธิการวัตถุประสงค์ของแผนฯเป็นไปเพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาในประเทศให้สูงขึ้น แทนการส่งคนไปเรียนต่างประเทศ
11 พฤศจิกายน 2441 ได้มี ประกาศจัดการเล่าเรียนในหัวเมืองโดยมีนโยบายอาศัยคณะสงฆ์ให้เป็นกำลังหลักในการศึกษาตามหัวเมือง
16 มิถุนายน 2445 ประกาศใช้ พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ซึ่งในแง่มุมของการศึกษา ถือเป็นการแบ่งงานระหว่างพระสงฆ์กับกรมศึกษาธิการ โดยพระสงฆ์จะจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษา ส่วนในระดับสูงกว่าเป็นหน้าที่ของกรมศึกษาธิการ
6 กันยายน 2445 คณะข้าหลวงตรวจการศึกษาของไทยไปดูการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น  และต่อมาได้ประกาศใช้เป็น โครงการศึกษา ปี พ.ศ. 2445” (แผนการศึกษาญี่ปุ่นเป็นแผนการศึกษาที่ใหม่ที่สุดในเวลานั้น โดยญี่ปุ่นได้ส่งคนไปศึกษาแผนการศึกษาของชาติต่างๆ ทั้งยุโรปและอเมริกา และนำมาดัดแปลงให้เข้ากับสังคมของญี่ปุ่น)
โครงการศึกษา พ.ศ. 2445 ได้แบ่งหลักสูตรออกเป็น 3 ระดับ คือ ชั้นต้น(ประถมศึกษา) ชั้นกลาง(มัธยมศึกษา) และชั้นสูง(อุดมศึกษา) หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงโครงการศึกษาให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ใน พ.ศ. 2450 และ พ.ศ. 2452
6 มกราคม 2447  จัดตั้ง สามัคยาจารย์สมาคมและมีการออก จดหมายเหตุของสมาคมเป็นรายปักษ์ ต่อมาได้กลายเป็นหนังสือ วิทยาจารย์ การก่อตั้งสมาคมนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือการจัดฝึกอบรมครู
1 มกราคม 2453 ประกาศจัดตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยหมายที่จะผลิตนักศึกษาให้มีความรู้ความสามารถในการออกไปรับราชการ สำหรับเงินทุนในการก่อสร้างนั้นอาศัยจากเงินคงเหลือจากที่ประชาชนบริจากในการสร้างพระบรมรูปทรงม้าเป็นจำนวน 982,672.47 บาท (ต่อมากลายเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแผนปัจจุบันแห่งแรกของไทย)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตเมื่อวัน อาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร จึงได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ ในด้านที่เกี่ยวการศึกษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้การสนับสนุนและทรงริเริ่มงานใหม่ๆ ต่อจากที่สมเด็จพระราชบิดาได้ทรงวางรากฐานไว้ให้
1 มกราคม 2454 ได้มีการประกาศจัด การศึกษาของมณฑลกรุงเทพฯโดยประกาศให้ผู้ปกครองของเด็กชายและหญิงซึ่งมีอายุย่างเข้า 8 ปี ส่งบุตรธิดาเข้าเล่าเรียนในโรงเรียน(แต่ปรากฏว่าร่างระเบียบนี้ไม่มีการประกาศใช้) ต่อมาไม่นานนักในปีเดียวกัน เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว. เปีย มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ก็ได้ร่าง ความเห็นที่จะจัดการศึกษา ร.ศ. 131” (2454) ขึ้นทูลเกล้าถวาย โดยมุ่งให้มีการจัดการศึกษาภาคบังคับขึ้น แต่ปรากฏว่าพระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงมีพระราชวินิจฉัยอย่างใด
1 กรกฎาคม 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนาคณะลูกเสือไทยขึ้น และได้ตราข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือขึ้นมา โดยมุ่งบ่มเพาะให้เยาวชนไทยเป็นพลเมืองดี
30 ตุลาคม 2456 ได้มีการประกาศ โครงการจัดการศึกษาชาติ พ.ศ. 2456” ซึ่งมุ่งแก้ความเข้าใจผิดของราษฎรในเรื่อง โรคอยากเป็นเสมียนโครงการศึกษาฉบับนี้ได้แบ่งการศึกษาออกเป็นสองสาย คือสายสามัญศึกษาและสายวิสามัญศึกษา อย่างไรก็ตามยังไม่มีการพูดถึงเรื่องการประกาศการศึกษาภาคบังคับแต่อย่างใด
26 มีนาคม 2459 ได้มีประกาศให้โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยให้ขึ้นอยู่ในสังกัดของกระทรวงธรรมการ
6 เมษายน 2460 ประกาศตั้ง กรมมหาวิทยาลัยขึ้นเป็นกรมหนึ่งในกระทรวงธรรมการ ทำหน้าที่ในการบังคับบัญชา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและหน่วยงานในสังกัด
9 มิถุนายน 2461 ประกาศใช้ พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์เป็นครั้งแรก ความมุ่งหมายสำคัญของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ก็เพื่อวางระเบียบกฎหมายการปกครองโรงเรียนราษฎร์ให้เรียบร้อยรัดกุมขึ้น รวมถึงมุ่งประโยชน์ในการควบคุมโรงเรียนราษฎร์ของคนจีนที่สอนภาษาจีน ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ
27 เมษายน 2463 ได้มีการจัดตั้ง กรมตำราขึ้นโดยมีหน้าที่สำคัญคือแต่งแบบเรียน จัดตั้งห้องสมุดสำหรับประชาชน และจัดจำหน่ายแบบเรียนให้แพร่หลาย
1 กันยายน 2464 ประกาศใช้ พระราชบัญญัติประถมศึกษาฉบับแรก ปี 2464” ทำให้เด็กเล็กตั้งแต่อายุ 7-14 ปีบริบูรณ์ต้องเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา พ.ร.บ. ฉบับนี้ได้กำหนดให้จัดเก็บ เงินศึกษาพลีหรือภาษีการศึกษาขึ้นด้วย ภายหลังการประการใช้ พ.ร.บ. ประถมศึกษา 2464 แล้ว ก็ได้มีความพยายามที่จะขยายการศึกษาให้ทั้งทุกตำบล การขยายการศึกษาในระดับที่สูงกว่าประถมศึกษา และการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพของการศึกษา
ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ
9 มกราคม 2468 พระเจ้าอยู่หัวทรงมีบันทึกถึงเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีว่า ทรงเห็นเด็กในกรุงเทพฯเพ่นพ่านไปมาซึ่งมีโอกาสเสียคนได้มาก แต่ถ้าได้ศึกษาเล่าเรียนก็จะช่วยลดโอกาสที่จะเสียคนได้บ้าง จากพระราชบันทึกนี้ จึงทำให้มีการประชุมและตกลงที่จะจัดการศึกษาภาคบังคับในกรุงเทพฯ โดยไม่เก็บเงินศึกษาพลี ดังนั้นในปีเดียวกัน จึงมีประกาศการจัดการศึกษาภาคบังคับในกรุงเทพฯ พ.ศ. 2468” ขึ้น
1 เมษายน 2469 ได้มีดุลยภาพข้าราชการทั่วประเทศ สำหรับกระทรวงศึกษาธิการ มีผู้ที่ต้องออกจากราชการ นับตั้งแต่เสนาบดี คือเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ตลอดจนข้าราชการอื่นๆ อีกเป็นอันมาก และในระหว่าง 2469-2474 เป็นระยะที่เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ ทำให้การปรับปรุงการศึกษาต้องชะงัก